กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยที่บ้านไทรห้อง หมู่ที่ 1 ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การสร้างเครือข่าย, การเรียนรู้ในชุมชน, ศูนย์การเรียนรู้, การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่ม สภาพปัญหา และกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยที่บ้านไทรห้อง หมู่ที่ 1 ตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก และรอง จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่มการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย 1.1) การวิเคราะห์ชุมชน 1.2) ขั้นดำเนินการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว หรือการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่ม หลังจากที่พูดคุยตกลงกันจึงต้องมีการวางแผน วางกฎระเบียบ และวางแนวทางในการทำงานของกลุ่ม 1.3) ขั้นตอนการขยายตัว การเจริญเติบโต และการขยายกิจกรรมของกลุ่ม 2) สภาพปัญหาของกลุ่มการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย 2.1) ปัญหาการผลิต พบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการเก็บผลผลิตน้ำผึ้ง และในบางครั้งน้ำผึ้งไม่เพียงพอในการผลิต 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ พบว่า การบรรจุภัณฑ์อยู่ในวงที่จำกัด และไม่ต่อเนื่อง 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่ม พบว่า ยังขาดการประชาสัมพันธ์ในสื่อออนไลน์ไม่มากพอ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม พบว่า ด้านการผลิตนำวัตถุดิบบางอย่างที่อาจจะไม่ได้มีภายในชุมชนมาผสมกับน้ำผึ้งเพื่อนำไปทำเป็นโลชั่น สบู่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการใช้มากขึ้น ด้านการตลาดในปัจจุบันมีร้านค้า และห้างที่ขายผลิตภัณฑ์ ทำให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์ลดน้อยลงจากที่ผ่านมาทางกลุ่มจึงได้เพิ่มช่องทางการขายไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ขายในออนไลน์ และออกบูธต่าง ๆ เพิ่มยอดขายให้มากขึ้น 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนกลุ่มการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย พบว่า กระบวนการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ในชุมชนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน
References
นงนุช พ้นยาก. (2549). เศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาธุรกิจผ้ากาบบัว บ้านโนนสวาง ตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี.
บัณฑร อ่อนดำ. (2533). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
มยุรา ปะลาวัน. (2550). การดำรงอยู่ของกลุ่มอาชีพในชุมชนผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษากลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านเกาะมุกด์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
รุ่งทิพย์ เสมอเชื้อ. (2550). การบริหารจัดการธุรกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพไม้กวาดลายดอกแก้ว: กรณีศึกษา ตำบลดงสุวรรณ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ และคณะ. (2564). หลักการเลี้ยง และขยายพันธ์ผึ้งในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุลีพร ทองงาม. (2550). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
สุวิน ศรีเมือง และภูกิจ ยลชญาวงศ์. (2563). การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะชุมชนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(1), 203-211.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.