การบริหารจัดการ กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกรงนกบ้านสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการกลุ่ม, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, การทำกรงนก, กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของกลุ่ม สภาพปัญหาของกลุ่ม และกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกรงนกบ้านสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสาร ตำรา วารสารวิชาการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยการวิเคราะห์ แบบอุปนัย (Analytic Induction) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ทางด้านการทำกรงนก ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการของกลุ่มฯ มี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มฯ 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มฯ 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มฯ และ 1.4) ขั้นตอน การบริหารจัดการกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกรงนกบ้านสระบัว 2) สภาพปัญหาของกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกรงนกบ้านสระบัว พบว่า 2.1) ปัญหาการผลิตกรงนกฯ 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ฯ 2.3) ปัญหาด้านการตลาดฯ และ 2.4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการของกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกรงนกบ้านสระบัว 3) กระบวนการการสร้างเครือข่ายฯ พบว่า 3.1) การเชื่อมโยงของสมาชิกในกลุ่มที่สมัครใจ แลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน 3.2) มีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ และ 3.3) มีความเท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิเชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน เป็นกิจกรรมเฉพาะกิจตามความจำเป็นหรือจะเป็นเครือข่ายที่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องระยะยาวก็ได้
References
จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารบริหารธุรกิจสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 9(1), 21-53.
เฉลิมศรี ระดากูล์. (2558). การก่อเกิดพัฒนาการกองทุนเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษากองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองชุมแพ. วารสารปาริชาต, 28(1), 41-57.
ธารทิพย์ ธรรมสอน และคณะ. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตกรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จังหวัดกำแพงเพชร. สักทองวารสาร, 12(2), 71-80.
บุญชู ยืนยงสกุล. (2560). บอกเล่าเรื่องราว ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้. สงขลา: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้.
ยุพิณ ไกรหาญ และคณะ. (2553). การเทียบเคียงระบบการจัดการ กรณีศึกษา กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการ พัฒนาฟาร์มโคพันธุ์อินดูบราซิล. วารสารสักทอง, 16(1), 118-127.
วิสาขา ภู่จินดา และ ยลดา พงค์สุภา. (2561). รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 81-87.
สุธี เทพสุริวงศ์ และเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ. (2557). การรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี. ปัตตานี: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
Scott, J. (2006). Documentary Research. London: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.