กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กฤตธีรา ซำฮกตั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ธารทิพย์ ฤทธิ์ดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • วลัยลักษณ์ จันทร์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ศักดิ์ดา หารเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • ทิพย์วรรณ จันทรา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • พระไพจิตร คงฉิม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน, ธนาคารปูม้า, แนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์ปูม้า, กลุ่มวิสาหกิจธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ดจังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน และสภาพปัญหา และการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต เครื่องบันทึกภาพ และเครื่องบันทึกเสียง ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา  ผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลุ่มวิสาหกิจกิจชุมชนธนาคารปูม้า    แสดงให้เห็นตามลำดับ ดังนี้ 1.1) การริเริ่มหรือการก่อตั้ง 1.2) การระดมความคิดเห็นจากผู้ก่อตั้ง 1.3) การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติของสมาชิกกลุ่ม 1.4) การดำเนินงานหรือปฏิบัติงาน และ 1.5) การขยายตัว 2) สภาพปัญหาของกลุ่ม ปัจจุบันสถานการณ์ปูม้าในธรรมชาติบริเวณทะเลหาดสำราญมีปริมาณลดน้อยลง เป็นผลมาจากการจับปูม้าเพิ่มมากขึ้นเพื่อนำมาจำหน่ายให้เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณปูม้าที่ถูกจับได้มีจำนวนลดลงส่งผลกระทบต่อรายได้ของกลุ่มประมง (เรือปู) ชุมชนบ้านนาชุมเห็ด ชุมชนบ้านตะเสะ ชุมชนบ้านโคกค่าย และชุมชนบ้านปากปรนที่ลดลงตามไปด้วย จึงทำให้สมาชิกกลุ่มประมง (เรือปู) นำโดย นายชีวิน หลงกลาง ประธานกรรมการธนาคารปูม้าหมู่บ้านนาชุมเห็ด ได้หารือกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีแนวทางใดบ้างที่จะดำเนินการเพิ่มปริมาณปูม้าในทะเลหาดสำราญได้ และ 3) การบริหารจัดการกลุ่ม มีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ ได้แก่ หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การมีความรู้ และการมีคุณธรรม

References

กรมโยธาธิการ และผังเมือง. (2553). โครงการศึกษาออกแบบป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมทะเล โดย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ไฟนอล ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด และคณะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนา และสนับสนุนตามผังเมือง.

เกศสุดา โภคานิตย์. (2562). ผลการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 458-474.

เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม และคณะ. (2560). โครงการการจัดการทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่ม ประมงเรือเล็ก บริเวณอ่าวเพ จังหวัดระยอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

จุฬากาญจน์ มุ่งพุทธรักษา และวิภาวี กฤษณะภูติ. (2557). การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดสีเขียว กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมขิดบ้านอูบมุงเหนือ. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 3(2), 143-170.

ธนาวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2557). การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(1), 1-22.

นิรดา กลั่นธูป และวริศรา เหล่าบำรุง. (2558). การจัดการวิสาหกิจชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในจังหวัดนครสวรรค์. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 7(2), 28-39.

บุนยธร แคล้วกลาง. (2558). ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของผู้นำนักบริหารในพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 33(2), 129-144.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ ง (1 พฤศจิกายน 2565).

พีรวิชญ์ จิตร์เพ็ชร์. (2564). การบริหารจัดการธุรกิจวิสาหกิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 39-49.

มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. (2564). การจัดการ และส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี. เรียกใช้เมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก http://www.samilatimes.co.th/%E0%B8%A1%E0%B8% 97%E0%B8%A3-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0.

ยอยศพร อรรคไกรสีห์. (2565). วิสาหกิจชุมชนธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด ต่อยอดนำปูม้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2566 จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/ TCATG220408135443625

รุจิพัชร์ กิตติวิวัฒนพงศ์ และกนกรัตน์ ยศไกร. (2559). ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน. วารสาร EAU HERITAGE, 6(1), 235-248.

วสันต์ สุขสุวรรณ. (2564). เกษตรตรังพบวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด อำเภอหาดสำราญ. เรียกใช้เมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://siamrath.co.th/n/297464

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. (2566). การสร้างเครือข่าย. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2566 จาก http://www.cmmet.tmd.go.th/KM_Cmmet/KM_2023/KM_Networking01.pdf

สมจินตนา จิรายุกุล และคณะ. (2561). การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(1), 27-43.

อินธุกานต์ หลงกลาง และชีวินหลงกลาง. (2560). วิสาหกิจชุมชนธนาคารปูม้า บ้านนาชุมเห็ด. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2566 จาก https://smce.doae.go.th/ProductCategory/manageconten t.php?smce_ id=592100310028Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. NewJersey: Prentice-HallInc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08

How to Cite

ซำฮกตั้น ก., ฤทธิ์ดี ธ., จันทร์ทอง ว., ดำรงวัฒนะ จ., หารเทศ ศ., จันทรา ท., & คงฉิม พ. (2024). กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจธนาคารปูม้าบ้านนาชุมเห็ด ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 3(2), 19–29. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/180