การศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตร Home Loan Deep Dive - สินเชื่อเข้มข้น สำหรับผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ วิทยาลัยชุมชนระนอง
  • อรรถเดช สรสุชาติ วิทยาลัยชุมชนระนอง

คำสำคัญ:

รูปแบบนวัตกรรม, นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้, ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตร Home Loan Deep Dive - สินเชื่อเข้มข้น 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตร Home Loan Deep Dive - สินเชื่อเข้มข้นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไป จำนวน 500 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ การสุ่มแบบชั้นภูมิโดยแบ่งตามภูมิภาค การสุ่มแบบเจาะจงโดยกำหนดคุณสมบัติให้เป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว วิเคราะห์ข้อเสนอแนะ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าหลักสูตร Home Loan Deep Dive - สินเชื่อเข้มข้นเป็นหลักสูตรที่ถูกสร้างสรรค์มาโดยเฉพาะไม่มีที่ใดจัดทำมาก่อน โดยในระดับมากที่สุด = 4.63 และมีความคิดเห็นว่าการออกแบบสื่อการเรียนการสอนมีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใครอยู่ในระดับมากที่สุด  = 4.71 อีกทั้ง มีความคิดเห็นว่าการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการเงินต่าง ๆ มาจัดหมวดหมู่เพื่อใช้ในการเรียนการสอนยังไม่เคยมีหลักสูตรไหนทำมาก่อนอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน  = 4.69 2) กลุ่มตัวอย่างซึ่งมีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ภูมิภาคที่อยู่อาศัย ประสบการณ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อหลักสูตร Home Loan Deep Dive - สินเชื่อเข้มข้นไม่แตกต่างกัน

References

กำชัย ทบบัณฑิต และคณะ. (2560). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ปณิตา ราชแพทยาคม. (2561). นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล. (2564). วิกฤติตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในวันที่ปัจจัยลบรุมเร้า. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/128234

อรรถเดช สรสุชาติ. (2563). สถิติประยุกต์ และระเบียบวิธีวิจัย. ขอนแก่น: กรีนเนส เวิร์ดไวด์ จำกัด.

Bloom, B. S. et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David.

Clinic, f. (1996). Theories of mass communication. London: Longman.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Everett, M. (1983). Diffusion of Innovations. New York: Free Press.

Shiffman, D. (2007). Consumer Behavior. (9th ed.). Prantice - Hall: Upper Saddle River.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3th ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08

How to Cite

ฉิมพลีวัฒน์ ก., & สรสุชาติ อ. (2024). การศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตร Home Loan Deep Dive - สินเชื่อเข้มข้น สำหรับผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 3(2), 51–58. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/183