การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ เจริญลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • นริศรา กรุดนาค มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • วงษ์สิริ เรืองศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม, การพัฒนาชุมชน, พหุวัฒนธรรม, สวนผึ้ง

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาบริบทอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และ 2) นำเสนอข้อเสนอแนะการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก 8 คน การสนทนากลุ่ม 10 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมีเค้าโครง โดยมีเกณฑ์การเลือกกลุ่ม เป็นผู้มีบทบาท กับการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และยินดีให้ข้อมูลตลอดการดำเนินโครงการวิจัย ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบด้วยเทคนิคสามเส้าและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรม คือ 1.1) บริบทของพื้นที่เหมาะสม 1.2) การมีเครือข่ายการศึกษาและพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็ง 1.3) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวมีความชัดเจน และ 1.4) สามารถบูรณาการท่องเที่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง และ 2) ข้อเสนอแนะการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรม คือ 2.1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรมต้องมีการวางแผนที่คำนึงถึงความหลากหลาย สร้างโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์ การสร้างบรรยากาศเชิงสร้างสรรค์ และการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 2.2) การพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย การส่งเสริมความเข้มแข็งโดยใช้ทุนทางสังคมสร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการทำงานร่วมกัน และการสร้างการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). แผนวิสาหกิจ ททท. พ.ศ. 2566 - 2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2567 - 2570) : Final Report. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดทำแผนวิสาหกิจ ททท.

ธารารัตน์ สัญญะโม และคณะ. (2564). การเสริมศักยภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพของท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(2), 70-88.

นริศรา กรุดนาค และนรินทร์ สังข์รักษา. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “ย่านเมืองเก่า” จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(10), 335-349.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารเวอร์ริเดียน มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 250-268.

มติชนออนไลน์. (2564). ราชบุรีนำร่องท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง มอบป้ายสัญลักษณ์ผู้ประกอบการ สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2567 จาก https://www.matichon.co.th/region/news_3028509

มติชนออนไลน์. (2566). เศรษฐา มอบนโยบายท่องเที่ยว ขอโทษถ้าพูดไม่ลื่นหู แค่อยากดึงศักยภาพไทยสู่สายตาโลก. เรียกใช้เมื่อ 27 มกราคม 2567 จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_4329009

ยุวดี จิตต์โกศล. (2561). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(2), 50-86.

สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ และกุญฑิญา จิรทิวาธวัช. (2565). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 390-406.

สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปีของราชบุรี. เรียกใช้เมื่อ 16 พฤษภาคม 2567 จาก https://rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/25122023-093737-5245.pdf

สุวดี บุญมาจรินนท์ และคณะ. (2565). การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 19(2), 84-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

เจริญลักษณ์ น., กรุดนาค น., & เรืองศรี ว. (2024). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(1), 60–71. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/225