การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (การทำสบู่)

ผู้แต่ง

  • ปัณฑิตา อ่อนกล้า มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • เพ็ญพิซชา อินแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • ธีรภัทร ขาวผ่อง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • จรวยพร เหมรังษี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • เมธาวิรินทร์ จำนงค์ธรรม นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการกลุ่ม, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สบู่มังคุด, ศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพร บ้านคีรีวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการการเกิดกลุ่มบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง การทำสบู่จากสมุนไพร 2) ศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มบ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง การทำสบู่จากสมุนไพร 3) ศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มสมุนไพรคีรีวง การทำสบู่จากสมุนไพร มี 10 คน ผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 1 คน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการการเกิดกลุ่มศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (การทำสบู่) พบว่า มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นก่อตัว เกิดจากพูดคุยเกี่ยวกับรายได้ในครอบครัวและชุมชน จึงเกิดแนวคิดการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมา 2) ขั้นปฏิบัติ มีการวางแผน กฎระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติโดยแบ่งตามภาระหน้าที่ของสมาชิก และเริ่มทำการผลิตสบู่ และ 3) ขั้นการมีส่วนร่วม หรือการขยายตัว หลังจากได้รับผลตอบรับจากผู้บริโภคแล้ว จึงมีการเพิ่มการผลิตและเพิ่มช่องทางการตลาด สภาพปัญหาของกลุ่ม ได้แก่ 1) ปัญหาการผลิตที่ต้องรอวัตถุดิบตามฤดูกาล 2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ และขาดความทันสมัย 3) ปัญหาการตลาดที่เน้นการขายเฉพาะหน้าร้าน และมีการขายที่ไม่ต่อเนื่อง 4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ที่สมาชิกมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และขาดความสามัคคี สำหรับการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกัน 4) การมีความรู้ และ 5) การมีคุณธรรม

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิชุลดา มาตันบุญ. (2565). ปัญหาและความต้องการของกลุ่ม OTOP ในจังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(3), 240-257.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครศรีธรรมราช: วีพีเอส.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2556). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม: แนวทางศึกษาวิเคราะห์และวางแผน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สุดาทิพย์ เกษจ้อย. (2565). การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยการแปรรูปเป็นขนมไทยพื้นบ้าน สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 8(2), 145-158.

Herbal Soap: สบู่สมุนไพร. (2555). สบู่สมุนไพร. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://ziimphope.blogspot.com/

Lnu shop. (2559). สรรพคุณและความน่าสนใจของมังคุดในการนำมาผลิตสบู่. เรียกใช้เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558 จาก https://n9.cl/3uqwi

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

How to Cite

อ่อนกล้า ป., อินแก้ว เ., ขาวผ่อง ธ., ดำรงวัฒนะ จ., เหมรังษี จ., & จำนงค์ธรรม เ. (2024). การบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้บ้านสมุนไพรบ้านคีรีวง (การทำสบู่). Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(2), 31–38. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/232