การสร้างองค์การสมรรถนะสูงภายใต้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
องค์การสมรรถนะสูง, วิทยาลัยชุมชน, ประสิทธิผลการดำเนินงาน, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิผลของ EdPEx ในการสร้างองค์การสมรรถนะสูงของวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทยโดยทำความเข้าใจถึงกระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนในอนาคตอย่างยั่งยืน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาจากการสืบค้นข้อมูลจากแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปและตีความจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) การสร้างองค์การสมรรถนะสูงให้เกิดขึ้นกับการดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทยสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้การประยุกต์ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ หรือ เกณฑ์ EdPEx ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานภายใต้เกณฑ์ที่สำคัญ 7 หมวด ได้แก่ 1.1) การนำองค์กร 1.2) กลยุทธ์ 1.3) ลูกค้า 1.4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 1.5) บุคลากร 1.6) การปฏิบัติการ และ 1.7) ผลลัพธ์ และ 2) แนวทางการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนในอนาคตอย่างยั่งยืน ดำเนินการโดยการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ หรือ EdPEx มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชนตามขนาดขององค์กร และงบประมาณที่ได้รับจากภาครัฐ และในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนตามเกณฑ์ EdPEx จึงมีต้องวิเคราะห์และประเมินอย่างรอบคอบถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยในเบื้องต้นวิทยาลัยชุมชนอาจต้องดำเนินการ ดังนี้ 2.1) จัดทำโครงสร้างองค์กรไม่ให้มีความซ้ำซ้อน 2.2) จัดทำแผนการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนภายใต้เกณฑ์ EdPEx 2.3) จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ 2.4) กำหนดบุคลากรในการดำเนินการ 2.5) ดำเนินการตามแผน และ 2.6) ประเมินผลและปรับปรุง
References
ประดิษฐ์ เมฆชัยภักดิ์. (2557). แนวโน้มการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ใน รายงานการวิจัย. กองการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พเยาว์ อินทอง. (2561). การพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่องค์การสมรรถนะสูง: กรณีศึกษากรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พสุ เดชะรินทร์. (2549). รายงานผลการศึกษาพัฒนารูปแบบเบื้องต้นของหน่วยงานภาครัฐ: องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศจีทิพ ถวิลหวัง และนริศ เพ็ญโภไคย. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยจากผลกระทบภายนอกความคล่องตัว และกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิผลของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มือสองในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 1-20.
สุรพล เศรษฐบุตร. (2555). การพัฒนาระบบสมรรถนะของข้าราชการพลเรือนไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Campbell, A. et al. (1977). On the nature of organizational effectiveness. San Francisco: Jassay Bass.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2010). Management theory, research and practice. New York: Ankara Nobel Printing Distribution.
Stufflebeam, D. L. (2007). CIPP Evaluation Model Checklist: A Tool for Applying the CIPP Model to Assess Projects and Programs. Retrieved May 31, 2023, from https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2014/cippchecklist_mar07.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.