การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยวัฒนธรรมเป็นฐานเพื่อขับเคลื่อนสุขภาพชุมชน: กรณีเครือข่ายจิตอาสาชุมชนวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วสุอนันต์ ทองดี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
  • เริงวิชญ์ นิลโคตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • วงษ์สิริ เรืองศรี นักวิชาการอิสระ
  • ธารารัตน์ สัญญะโม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตลอดชีวิต, วัฒนธรรมเป็นฐาน, สุขภาพชุมชน, การส่งเสริม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยวัฒนธรรมเป็นฐานเพื่อขับเคลื่อนสุขภาพชุมชน กรณีศึกษาเครือข่ายจิตอาสาชุมชนวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน และ
2) นำเสนอส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยวัฒนธรรมเป็นฐานเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก 8 คน การสนทนากลุ่ม 14 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมีเค้าโครงโดยมีเกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ เป็นผู้นำด้านส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ทำงานด้านจิตอาสาในชุมชน และยินดีให้ข้อมูลตลอดการดำเนินโครงการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้าและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยวัฒนธรรมเป็นฐานเพื่อขับเคลื่อนสุขภาพชุมชน กรณีศึกษาเครือข่ายจิตอาสาชุมชนวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน คือ การมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย 1.1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านส่งเสริมสุขภาพ 1.2) ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 1.3) ศาสนาและความเชื่อ 1.4) ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น และ 1.5) วัฒนธรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น และ 2) นำเสนอแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยวัฒนธรรมเป็นฐานเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน คือ 2.1) การศึกษาภูมิปัญญาท้องด้านสุขภาพ 2.2) การจัดการความรู้และสื่อสารแนวราบ 2.3) การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม 2.4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และ 2.5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านจิตอาสา ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าต้นทุนทางวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพอำเภอปัว จังหวัดน่าน ความเป็นชุมชนและการปฏิสัมพันธ์แบบชนบทส่งผลให้เครือข่ายจิตอาสาสามารถขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). เรียกใช้เมื่อ 28 มกราคม 2567 จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดน่าน. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 28 มกราคม 2567 จาก https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/phocadownloadpap/userupload/Piakung/2566-2570.pdf

จักรี ปัถพี และนวลฉวี ประเสริฐสุข. (2559). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร Veridian E-Journal,Silpakorn University, 9(3), 1190-1205.

ชูศักดิ์ โพกะชา และนิรุทธ์ วัฒโนภาส. (2563). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสมุนไพรตามศาสตร์พระราชาของวัดกลางคูเวียงเพื่อเป็นแห่งเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 269-282.

ปาริชาติ ปากชำนิ และคณะ . (2565). การพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ โดยนักศึกษาจิตอาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1699-1711.

วรรณา กองสังข์. (2565). ประเมินการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 1(1), 47-57.

เวหา เกษมสุข และคณะ. (2562). แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(2), 261-271.

ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2560). การพยาบาลชุมชน: กระบวนการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สมาร์ทโคตรติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด.

องค์การบริหารส่วนตำบลวรนคร. (2566). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 28 มกราคม 2567 จาก https://www.worranakorn.go.th/data_3968

Orem, D. E. (1995). Nursing: Concepts of practice. (5th). Saint Louis: Mos by Year Book.

WHO. (2003). WHO definition of Health. Retrieved February 12, 2024, from https://www.who.int/about/definition/en/-14k-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

How to Cite

ทองดี ว., นิลโคตร เ., เรืองศรี ว., & สัญญะโม ธ. (2024). การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยวัฒนธรรมเป็นฐานเพื่อขับเคลื่อนสุขภาพชุมชน: กรณีเครือข่ายจิตอาสาชุมชนวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(2), 51–62. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/J_ISSD/article/view/539