การสื่อสารอย่างสันติตามหลักพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • จริยา แต่งประวัติ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, สันติ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การสื่อสารอย่างสันติตามหลักพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำการสื่อสารบนพื้นฐานของการมีความเข้าใจร่วมกัน เป็นไปเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดทั้งสองฝ่าย รวมทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวม ทั้งยังเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนลึกที่อยู่ภายในจิตใจ เพราะเมื่อความต้องการทั้งฝ่ายผู้ส่ง ฝ่ายผู้รับ และส่วนรวมได้รับการตอบสนองแล้ว การระงับดับไปแห่งความพลุ่งพล่านเร่าร้อนกระวนกระวายย่อมเจริญขึ้น นั่นหมายถึงภาวะของการเข้าอกเข้าใจกัน ภาวะของความเรียบรื่นไร้ความสับสนวุ่นวาย ภาวะที่ระงับความมุ่งร้าย หรือภาวะที่ไร้ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัวเกิดเป็นความมีสันติระดับบุคคล (สันติภายใน) และความมีสันติระดับสังคม (สันติภายนอก)ทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารอย่างสันติตามหลักการทางพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการเปิดรับฟัง 2) ทักษะการคิดอย่างแยบคาย      3) ทักษะการแสดงความคิดเห็น 4) ทักษะการพิจารณาสอบทาน และ 5) ทักษะการอยู่ร่วมกันทางสังคม

References

ไชยทรง จันทรอารีย์. (2531).ธรรมประทีป 9 ธรรมะภาคปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองวิริยะพัฒนา.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2547 ). หลักการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554).พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาธรรมสภา.

พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย. (2559). รูปแบบการสื่อสารอย่างสันติเชิงพุทธจิตวิทยา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี. (2557).การพัฒนาภาวะผู้นาในการสื่อสารตามแนวทางพระพุทธศาสนา.(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Berlo, D. K. (1960).The Process of Communication. New York, New York : Holt, Rinehart, & Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2024