การจัดการเรียนรู้ของพระสอนศีลธรรมในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระจิรกฤต รตนปุญฺโญ วัดหนองโกเจริญธรรม

คำสำคัญ:

การจัดการ, เรียนรู้, พระสอนศีลธรรม

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ มากมายอันส่งผลต่อการเรียนรู้และวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตดังนั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ของพระสอนศีลธรรม จึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและทำหน้าที่อบรมพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้เป็นเยาวชนผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น การที่ผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลต่อผู้เรียนได้นั้น ผู้สอนจะต้องมีองค์ความรู้ที่จำเป็นหลากหลายสามารถบูรณาการความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอยู่ในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้สอนสามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงไดอีกทั้งในยุคศตวรรษที่ 21 ถือเป็นสังคมฐานความรู้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากนักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้ตลอดเวลาที่ต้องการเรียนรู้อีกทั้งยังสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) ที่ทันสมัยเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พระสอนศีลธรรมต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2565). คู่มือพระสอนศีลธรรม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

D-PREP International School. (2566). Active Learning การเรียนรู้แบบลงมือทำคืออะไร และทางโรงเรียนมีวิธีการส่งเสริมอย่างไร. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.dprep.ac.th/th/what-is-active-learning

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2024