การศึกษาจริยธรรมเชิงพุทธ ของผู้นำท้องถิ่น กรณีศึกษา การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
จริยธรรมเชิงพุทธ, ผู้นำท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนจังหวัดบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษา การศึกษาจริยธรรมเชิงพุทธ ของผู้นำท้องถิ่น กรณีศึกษา การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้นำท้องถิ่น หลังจาการได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องบริหารท้องถิ่นให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยดีมีประสิทธิภาพสูง รับผิดชอบความซื่อสัตย์สุจริตมีเหตุผล สร้างความสามัคคี เมตตา กรุณา และมีความยุติธรรมรวมถึงความขยันที่จะสอดส่องดูแลประโยชน์ของชุมชนมากกว่าประโยชน์ส่วนตนตามหลักพุทธศาสนา จำเป็นต้องรู้กฎหมาย ขอบเขตของการบริหาร รู้ระบบการปกครองที่ชัดเจน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ คุณธรรมจริยธรรม และมีลักษณะของธรรมาภิบาลคือหลักกฎหมายที่เป็นในระดับสากลและหลักธรรมที่นำมาใช้ในการปกครองท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยความเมตตาคือปรารถนาให้ผู้อยู่ในชุมชนได้รับความสุขมีประโยชน์ด้วยทั่วหน้ากันคือได้รับผลประโยชน์ที่เท่าเทียม
References
กาญจนี ละอองศรี และยุพา ชุมจันทร์. (2557). การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
นาธาเนียล ฮาร์ริส. (2559). ระบอบการปกครอง: ราชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ ปาเจราจำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์. (2554). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : อิน เฮาสโนว์เลจ.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2567). “คุณสมบัติสำคัญของนักการเมืองที่ดี”. สืบค้น 10 กันยายน 2567 จาก Available URL : https://mgronline.com/daily/detail/9490000061572.
วิทยากร เชียงกูล. (2558). ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์เดือนตุลาจำกัด.
สุรพล สุยะพรหมและคณะ. (2559). ปรัชญาการเมือง . กรุงเทพฯ: มหาจุฬาบรรณาคาร.
Gabriel Abraham Almond. (2005). Human Resource. Upper Saddle River. NJ : Prentice-Hall. Inc. Burke Institute.
Thai PBS. (2567). ผลเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี "กำนันตุ้ย" คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง. สืบค้น 3 กันยายน 2567 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/343725