พระพุทธศาสนานิกายมหายานในแถบเอเชีย
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, มหายาน, เอเชียบทคัดย่อ
พระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นพระพุทธศาสนานิกายหนึ่ง ที่ได้รับการนับถืออย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกโดยถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดียราว พุทธศตวรรษที่ 5-7 ก่อกำเนิดขึ้นจากการรวมหลักอภิปรัชญาของนิกายย่อย 18 นิกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติที่มีการแพร่หลาย คือ อินเดีย เนปาล ภูฏาน เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาสายมหายานมีวิธีการปฏิบัติและทัศนคติที่แตกต่างจากคณะสงฆ์เถรวาทมีจุดกำเนิดจากประเทศอินเดียหลังสมัยพุทธกาลได้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบเอเชียในหลาย ๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็นเนปาล ทิเบต ภูฏาน ซึ่งสามารถได้ว่าการศึกษาพระพุทธศาสนาในมหายานมีการบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์และมีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปในหลาย ๆ ฝ่ายและมีการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อปลดเปลื้องตนออกจากทุกข์
References
นายวรรธนะ มูลขำ. (2545). ร่องรอยและอิทธิพลของคติพระพุทธศาสนามหายานที่มีต่อความเชื่อและพิธี กรรมพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผาสุก อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพมหานคร: อักษรสมัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (ม.ป.ป). พระพระพุทธศาสนาในอาเซีย.
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (ม.ป.ป). พระพระพุทธศาสนามหายาน. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วศิน อินทสระ. (2546). พุทธปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วศิน อินทสระ. (ม.ป.ป). พุทธปรัชญามหายาน.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2568). มหายาน. สืบค้น 30 มกราคม 2568 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/.
ส. ศิวรักษ์. (ม.ป.ป). ความเข้าใจในเรื่องมหายาน.
สุชาติ หงษา. (ม.ป.ป). ประวัติศาสตร์พระพระพุทธศาสนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (ม.ป.ป). ความ (ไม่) รู้เรื่องพระพระพุทธศาสนาในภูฏาน.
เสถียร โพธินันทะ. (2548). ปรัชญามหายาน. นครปฐม: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสตร์. (ม.ป.ป). พระพระพุทธศาสนามหายาน.