พระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระปิยะ ฐิตปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, ส่งเสริมศรัทธา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา พระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล โดยศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย เว็ปไซต์ และการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1.ศรัทธา คือ ความเชื่อในพระรัตรตรัยประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็นส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นความเชื่อที่ใช้หลักเหตุและผลในการอธิบายความเชื่อไม่ให้หลงงมงาย โดยใช้ปัญญาในการพิจารณาอยู่เสมอ 2.ในยุคดิจิทัลการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยพระสงฆ์จึงจำเป็นจะต้องปรับตัวและสร้างศรัทธาให้แก่ประชาชนด้วยการนำหลักคำสอนทางพุทธศาสนามาอธิบายและชี้นำประชาชนให้เข้าใจในหลักการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องถูกหลักที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้จึงจะสามารถสร้างศรัทธาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ประชาชนในยุคปัจจุบันได้ 3.พระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล จึงจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมทั้งฝ่ายวัดบ้านและโรงเรียน คือ มีการที่จะคิดพัฒนาช่วยเหลืออาศัยซึ่งกันและกัน ประชาชนเป็นผู้ที่จะช่วยสนับสนุนในเรื่องของอาหารในเรื่องของปัจจัย 4 ถวายพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้ชี้นำทางที่ดีทางหลักคำสอนพุทธศาสนา จึงจำเป็นจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). การปฏิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว.

กรมสามัญศึกษา. (2545). คู่มือการพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : มิตรภาพการพิมพ์และสตูวีดิโอ.

กัลยาณมิตร. (2567). ศรัทธา. สืบค้น 12 ธันวาคม 2567 จาก https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=24094.

งามตา วินินทานนท์. (2536). ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

ธีรพงษ์ มหาวีโร. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เดอะบุ๊คส์.

บรรจง ชูสกุลชาติ.(2542). คู่มือพัฒนาคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์.

พุทธทาสภิกขุ.(2533). ใจความสำคัญแห่งคู่มือมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : หจก.ภาพพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ.(2566). ชุมนุมเรื่องสั้นพุทธทาสภิกขุ. สืบค้น 17 ธันวาคม 2567.จาก http://www.openbase

.in.th/files/ptbook_short-articles.pdf

ไพฑูรย์ พวงยอด. (2545). ความเชื่อและการปฏิบัติตามความเชื่อทางพุทธศาสนาเรื่องมงคล ๓๙ ประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย.(2525). เอกสารปรกอบการอบรมจริยธรรมผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร : สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย.

สุมณฑา คณาเจริญ. (2545). ศรัทธาในพระพุทธศาสนา. วารสารวงการครู, 8(2), 98-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025