อิทธิบาท 4 กับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรชุมชน
คำสำคัญ:
อิทธิบาท 4, พัฒนาอาชีพ, เกษตรกรชุมชนบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “อิทธิบาท 4 กับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจ ความเพียรพยายาม ความตั้งใจจริง และการไตร่ตรองปรับปรุง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ฉันทะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความรักในอาชีพ ทำให้เกษตรกรมีความภาคภูมิใจและเต็มใจในการพัฒนาตนเอง ส่วนวิริยะช่วยเสริมความอดทน มุ่งมั่น แม้ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติหรือความผันผวนของราคาผลผลิต ขณะที่จิตตะส่งเสริมให้เกษตรกรมีความใส่ใจในทุกขั้นตอนของการทำงานตั้งแต่การวางแผน การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวและจัดจำหน่ายผลผลิต สุดท้าย วิมังสาช่วยให้เกษตรกรรู้จักการประเมินผล วิเคราะห์ข้อผิดพลาดและปรับปรุงวิธีการทำเกษตรอย่างเหมาะสม
การน้อมนำหลักธรรม อิทธิบาท 4 มาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาอาชีพของเกษตรกรชุมชน โดยเชื่อมโยงหลักธรรมกับแนวทางการปฏิบัติทางอาชีพ เพื่อสร้างควาเข้มแข็งทั้งด้านจิตใจ วิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งต้องใฝ่รู้ ใฝ่พัฒนา โดยเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกษตกรมีความรู้ ทักษะ และแนวคิดในการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน
References
กรมการศาสนา. (2561). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม. กระทรวงวัฒนธรรม.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.
สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : กองทุนอริยมรรค สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). รายงานสถานภาพเกษตรกรไทย ปี 2566. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2568,จาก https://www.oae.go.th/
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2550).หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ (สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Chambers, R. (1997). Whose reality counts? Putting the first last. Intermediate Technology Publications.