การพึ่งตนเองตามหลักนาถกรณธรรมในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ อนุปัญญาวัฒน์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การพึ่งตนเอง, นาถกรณธรรม, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การพึ่งตนเองตามหลักนาถกรณธรรมในพระพุทธศาสนา ประเด็นสำคัญหลักใหญ่ คือ (1) การสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง ได้แก่ ศีล ช่วยให้พึ่งตนเองในด้านความประพฤติ ทางกาย และวาจาที่ดีงามเป็นสุภาพชนเป็นมิตรต่อสาธารณะชนได้ทุกชนชั้น พาหุสัจจะ การศึกษาทรงจำไว้มาก เป็นที่พึ่งแก่ตนเองในด้านความคิด เชาว์ปัญญาเพื่อเป็นข้อมูลนำมาประกอบสำหรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ โสวจัสสตา ช่วยให้เป็นคนอ่อนโยน มีมารยาทผู้ดี วิริยารัมภะ ช่วยให้เป็นคนมุมานะเป็นนักต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดแก่ตนเอง สันตุฏฐี ช่วยให้เรามีสภาพจิตที่ปกติไม่ยินดียินร้ายต่อทรัพย์สินสมบัติและหน้าที่การงานของคนอื่น ไม่ใช่แย่งมาหรือใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม ส่วน สติ ช่วยให้ทำงานด้วยความไม่ประมาท และปัญญา ช่วยให้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยรอบคอบมีเหตุผลที่ควรแก่งานชนิดนั้น (2) การสร้างที่พึ่งที่เกี่ยวกับคนอื่น คือ กัลยาณมิตตตา การคบเพื่อนที่ดีย่อมนำประโยชน์สุขมาให้ ถ้าคบเพื่อนเลว ก็เลวไปด้วยเพราะคบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้น และ กิงกรณีเยสุ ทักขตา สงเคราะห์ลงในการพึ่งพากันและกับทางสังคม เนื่องจากต้องคอยช่วยเหลือส่งเสริมให้การอุดหนุนในด้านมนุษยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์

References

ปิ่น มุทุกันต์. (2549). มงคลชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุคส์.

พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2542).โลกและชีวิตในวิถีแห่งธรรม.กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต). (2551).พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

________.(2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

________. (2545).ธรรมนูญชีวิตพุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมมิก จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

________. (2556). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2024