ประชาธิปไตย : ความเชื่อมั่นในสถาบันการเมือง
คำสำคัญ:
ประชาธิปไตย, ความเชื่อมั่น, สถาบันการเมืองบทคัดย่อ
สถาบันการเมืองไทยตั้งแต่รัฐบาลพรรคการเมือง จนไปถึงองค์กรอิสระทั้งหลายต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหาการมีอำนาจกับความโน้มเอียงของการใช้อำนาจกล่าวคือ หากสถาบันการเมืองถูกกำหนดให้มีอำนาจน้อยผลลัพธ์ก็คือเกิดความไร้เสถียรภาพ อ่อนแอไม่สามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ และไม่อาจปฏิบัติงานให้บรรลุตามความคาดหวังของสังคมแต่ถ้าหากถูกกำหนดให้มีอำนาจมาก ผลลัพธ์ก็คือมีเสถียรภาพล้นเกินแข็งตัว ไม่ตอบสนองความต้องการของสังคม และมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดอีกทั้งการจัดการปัญหาด้วยเครื่องมือทางการทหารที่ทำให้เกิดการล้มรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ก็ทำให้รัฐสภาขาดความมั่นคงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุนที่เข้ามาใช้รัฐสภาเป็นทางผ่านเพื่อนำไปสู่การทุจริตให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสถาบันการเมืองแทบทั้งสิ้นการพัฒนาสถาบันทางการเมืองให้มีความเข้มแข็งจะต้องเริ่มจากประชาชนในฐานะพลเมืองที่พร้อมจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในทางตรงและทางอ้อมเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนการทำหน้าที่ของสถาบันการเมือง และเป็นการสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นการคัดค้านหรือต้านทานการใช้อำนาจในทางมิชอบของสถาบันการเมือง ดังนั้น การมีเครื่องมือตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขาดมิได้ เพราะการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐเป็นการควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐดำเนินไปเพื่อบรรลุภารกิจของรัฐ และเป็นการป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจอย่างบิดเบือนหรือเกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจอีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวด้วย
References
เขมภัทร ทฤษฎิคุณ. (2557). แนวทางการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจรัฐ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุมพล หนิมพานิช. (2546). สถาบันการเมือง. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ (หน่วยที่ 1-9). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ธัชวุฒิ จาดบันดิสถ์. (2551). ความชอบธรรมของ สถาบนัทางการเมืองไทย : การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะของชนชั้นกลางและชนชั้นล่างในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญวรา สุมะโน. (2558). ทำไมจึงไม่เชื่อมั่นในตัวนักการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).
บรรเจิดสิงคะเนติ. (2547). การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2552). วิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตการทางการเมืองในประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน. นนทุบรี: สถาบันพระปกเกล้า.
บูฆอรี ยีหมะ. (2547). สถาบันการเมืองกับการพัฒนาการทางการเมืองไทย. สงขลา: มหาวิทาลัยราชภัฏสงขลา.
วิชัย ตันศิริ. (2550). วิกฤติการเมือง 2549-2550. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
วิชชา จีระแพทย์. (2552). การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับบทบาทของพนักงานอัยการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการสูงสุด.
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2544). การเมืองการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: วิ.เจ.พริ้นติ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). การรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Goodin, R.E. (1996). The Theory of Institutional Design. Cambridge: Cambridge University Press.
Samuel, P. H. (1968). Political Order in Changing Societies. Cambridge, Massachusetts: Yale University Press.