พระสูตรวิเคราะห์ : ความเชื่อต่อความรุนแรงในฐานะเป็นเครื่องมือ ขององคุลิมาล (สูตร)

ผู้แต่ง

  • พระปลัดระพิน พุทธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ดิเรก ด้วงลอย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มัลลิกา ภูมะธน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

คำสำคัญ:

พระสูตรวิเคราะห์, องคุลิมาลสูตร, ความเชื่อต่อความรุนแรง

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง พระสูตรวิเคราะห์ : ความเชื่อต่อความรุนแรง ในฐานะเป็นเครื่องมือขององคุลิมาล (สูตร) ศึกษาความรุนแรงที่ปรากฏในองคุลิมาลสูตร ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวเขียนเป็นความเรียงในรูปแบบบทความวิชาการ

ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า องคุลิมาล เป็นผู้ที่มีพื้นฐานจิตที่ดี มีเจตนาในการแสวงหาความรู้และใช้ความเป็นรู้เป็นช่องทางในการพัฒนาตน แต่ด้วยความเชื่อและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จึงนำไปสู่การถูกหลอกให้กระทำการโดยขาดการใช้วุฒิภาวะไตร่ตรองจึงทำไปสู่การใช้ความรุนแรงมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และนำไปสู่การสร้างโศกนาฎกรรมเป็นชีวิตของผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก กลายเป็นรอยด่างในชีวิตในฐานะนักโทษประหารจากผลการใช้ความรุนแรงมาเป็นเครื่องมือ เพื่อประโยชน์จากการศึกษา แม้ในภายหลังจะกลับตัวกลับกลับใจ บวชเป็นพระภิกษุบรรลุธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนาก็ตาม

References

ชูชีพ โพชะจาและสมหวัง แก้วสุฟอง. (2562). ศึกษาวิเคราะห์กรรมวิบากของพระองคุลิมาลเถระ. วารสารปรัชญาอาศรม, 1(1), 1-12.

เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร. (2566). ถอดความหมายและบทเรียนจากเรื่องราวการได้เป็นพระอรหันต์ของพระองคุลิมาล.วารสารไทยคดีศึกษา, 20(2), 145-198.

เทวินทร์ ขอเหนี่ยวกลาง. (2546). นักเรียนชาย ฝักใฝ่"ความรุนแรง" ? มิติชนสุดสัปดาห์. (27 มิถุนายน พ.ศ. 2546). 23(1193), 30.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2549). วัฒนธรรมความรุนแรง. มติชนสุดสัปดาห์. (30 มิถุนายน พ.ศ. 2549). 26 (1350), 34.

ปณิธาน วัฒนายากร. (2564). ขบวนการจัดตั้งกับความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: แรงจูงใจการขับเคลื่อน และแนวทางแก้ไข. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 10(2), 76-91.

พระสมุห์สัมพันธ์ เนาว์แก้วและพระศรีสมโพธิ (วรัญญู วรญฺญู). (2562). วิเคราะห์พฤติกรรมการประพฤติผิดและการกลับใจของบุคคล ในสมัยพุทธกาล. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3),65-72.

พระมหาเศกศักดิ์ จนฺทวํโส (ทองอ่อน) และคณะ. (2566). การวิเคราะห์การบรรลุธรรมของพระองคุลิมาลเถระ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10 (7),110-118.

พระเด่น ชิตมาโร. (2559). การบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระองคุลิมาลเถระ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 2(2), 89-104.

พระสุริโย สุขิโตและพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2566). วิเคราะห์การบรรลุุธรรมของพระองคุลิมาลเถระ.วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 23(4), 319-328.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพ ฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ รัตนกุล. (2547). ศาสนากับความรุนแรงหนทางสู่สันติภาพ. มติชนสุดสัปดาห์. (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547). 24 (1248), 46.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์. (2548). ความรุนแรงในภาคใต้ เราเรียนรู้อะไรบ้าง. มิติชนสุดสัปดาห์. (7 ตุลาคม พ.ศ. 2548). 25 (1312), 16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2024