เขมรราชบุรี : ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ การคงอยู่ อัตตลักษณ์ และภาวะกลืนกลายให้เป็นไทย

ผู้แต่ง

  • พระปลัดระพิน พุทธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ดิเรก ด้วงลอย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มัลลิกา ภูมะธน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

เขมรราชบุรี, อัตลักษณ์, ภาวะกลืนกลายให้เป็นไทย

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง เขมรราชบุรี : ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ การคงอยู่ อัตตลักษณ์ และภาวะกลืนกลายให้เป็นไทยมีวัตถุประสงค์ศึกษาในเชิงประวัติและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงาวิจัยที่เกี่ยวข้อง เขียนออกมาในรูปบทความทางวิชาการ

          ผลการศึกษายืนยันว่า กลุ่มชาติพันธุ์เขมรมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในราชบุรี ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เนื่องด้วยเหตุผลของสงครามและการเมืองระหว่างประเทศ แต่เขมรด้วยความที่มีเอกลักษณ์ในเชิงชาติพันธุ์ภาษา และความเชื่อไม่ต่างจากสยามมากนัก จึงทำให้เกิดภาวะกลืนกลายเป็นสยามหรือไทยในที่สุด ดังปรากฏเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในเชิงภูมิศาสตร์ถึงถิ่นฐานและการเคยตั้งถิ่นฐานแต่วิถีหลายประการหายไปทั้งภาษา การแต่งกาย วิถีอาหาร จนกระทั่งกลายเป็นราชบุรีพื้นถิ่นไป

References

ธัชสร ตันติวงศ์.(2006). ชุมชนร่วมแบบเขมรบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง – ท่าจีน : พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารดำรงวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(2), 82-97.

พระสมุห์ดิเรก อติเรกสุโภ (งามกาละ). (2560). การบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์). (2564). รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ของพระสงฆ์ จังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์. (2015). รายงานตรวจราชการเมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม ร.ศ. 117 : เอกสารประวัติศาสตร์ราชบุรีและสมุทรสงครามในสมัยรัชกาลที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 147-166.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน

วรัฐยา สาระศาลิน และนิธิดา แสงสิงแก้ว. (2560). การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้าน: กรณีศึกษาประเพณีกิน ข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 51-61.

วีระพงศ์ มีสถาน. (2550). คนราชบุรี. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2024