การพัฒนาทุนมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา : โอกาสทางการศึกษา ของสามเณรในประเทศไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระธนญชัย กนฺตปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทุนมนุษย์, พระพุทธศาสนา, สามเณร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา โอกาสทางการศึกษาของสามเณรในประเทศไทยในยุคดิจิทัล ผลจากการศึกษาพบว่า การบรรพชาเป็นสามเณรเป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางศาสนาให้พร้อมทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ศาสนทายาทที่ดี เป็นหลักพึ่งพิงของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบรรพชาเป็นสามเณร คล้ายกับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คือเตรียมตัวเป็นศาสนทายาทในอนาคต และเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อบรรเทากิเลสให้เบาบาง ดำเนินชีวิตอย่างสงบ เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยทางพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน ส่วนการศึกษาที่เปิดโอกาสให้สามเณรได้ศึกษาเรียกว่าพระปริยัติธรรม โดยมุ่งเน้นวิชาการในด้านพุทธศาสนาเป็นหลัก ปัจจุบันแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 ส่วน คือ แผนกสามัญ แผนกธรรม และเผนกบาลี โดย 1.การศึกษาในแผนกสามัญศึกษา เป็นการเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาเช่นเดียวกับโรงเรียนสามัญทั่วไป ปัจจุบันนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ ที่เปิดโอกาสให้เรียนทางพระพุทธศาสนาและวิชาการที่เป็นการศึกษาสามัญ 2.การศึกษาแผนกธรรม โดยมีการศึกษา 3 ระดับ คือ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก 3.ส่วนการศึกษาแผนกบาลี เป็น การศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระไตรปิฎก ซึ่งเขียนเป็นภาษาบาลี โดยแบ่งเป็น ประโยค 1-2 ถึง ประโยค ป.ธ.9

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับสังคายนา) เล่มที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

นาวาเอกวัชระ วัฒนนิรันดร์. (2530). การบรรพชาอุปสปสมท. มปท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2530). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530-2534. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักส์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2544). พจนานุกรมคำศัพท์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เฟื่องอักษร.

สุนทร บุญสถิต. (2543). “สถานภาพและปัญหาของสามเณรในสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/24/2024