การุณยฆาต : การมีชีวิตในบริบทสังคมไทยและหลักพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การุณยฆาต, การมีชีวิต, บริบทสังคมไทยบทคัดย่อ
การุณยฆาตคือการช่วยให้ผู้ป่วยตายอย่างไม่ทรมาน แนวคิดนี้ถูกถกเถียงในด้านจริยศาสตร์ กฎหมาย รัฐศาสตร์ และศาสนา มีผลกระทบต่อสังคมยุคใหม่ที่เน้นเรื่องสิทธิที่จะตาย ในสังคมไทยก็มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเรื่องนี้ ชีวิตทุกชีวิตมีความตายเป็นที่สิ้นสุด แม้ว่ามนุษย์ทุกคนจะทราบข้อเท็จจริงนี้ แต่เมื่อต้องเผชิญกับภาวะใกล้ตาย มักทำใจได้ยาก พระพุทธศาสนาเน้นการเตรียมตัวตายโดยเสนอหลักธรรมหลายข้อ เช่น การทำจิตให้สงบด้วยการนึกถึงสิ่งดีงามหรือทำสมาธิภาวนา พระพุทธศาสนามองว่าชีวิตมีคุณค่า ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ แม้จะเจ็บป่วยก็ยังสามารถทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้กับจิตใจตนเอง อีกทั้งยังสามารถเรียนรู้จากความเจ็บป่วยเพื่อเห็นความจริงของชีวิตว่า ชีวิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่อยู่ในอำนาจของเรา หลายคนที่เห็นความจริงนี้สามารถปล่อยวางจากความเจ็บปวดได้ การุณยฆาตเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับสภาพความเจ็บปวดในเวลาใกล้ตาย พระพุทธศาสนาแนะนำให้เผชิญหน้ากับความตายอย่างกล้าหาญและมีสติ สำหรับผู้ที่กล้าเผชิญหน้ากับความจริง การุณยฆาตอาจไม่มีความจำเป็นใด ๆ
References
กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์. (2544). การให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบ : รวมสานแนวคิดสู่วิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ดวงจิตต์ กําประเสริฐ. (2528). กฎหมายแอลโกอเมริกันเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ฝ่ายตําราและอุปกรณ์การศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. (2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2552). สิทธิที่จะปฏิเสธการรักษา – สิทธิที่จะตาย. ดุลพาห, 56(2), 51-60.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2540). บทความการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การให้ผู้ป่วยสิ้นหวังตายอย่างสงบ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
ประพัฒน์พงศ์ สุคนธ์. (2529). การยกเว้นความรับผิดในการทำให้ผู้ป่วยตายด้วยความสงสาร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2541). การสัมมนาเรื่อง พินัยกรรมชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สมภาร พรมทา. (2535). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์พุทธชาด.
พระไพศาล วิสาโล. (2566). ความเข้าใจในเรื่องของความตาย. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://www.youtube.com/watch?v=-CLMTIE_OUc
Damien, K. (2001). Buddhism and Bioethics. New York: Palgrave
