แนวทางการป้องปรามการล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนในสถานศึกษาเชิงพุทธ

Main Article Content

พระสมุห์พิสุทธิ์ วิสุทฺโธ (เอี่ยมสำลี)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อป้องปรามการล่วงละเมิดทางเพศ 3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องปรามการล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนในสถานศึกษาเชิงพุทธ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้อำนวยการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับผู้บริหาร นักจิตวิทยา คณาจารย์ของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย โรงเรียน รวมถึงสถาบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 รูป/คนรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานเอกสาร รายงานวิจัย บทความ คำสัมภาษณ์ มาประกอบกับการวิเคราะห์หาแนวทางการป้องปรามการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า การล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ในสถานศึกษาทุกระดับ อันมีสาเหตุ 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสภาพจิตใจ 2. ด้านกฎระเบียบข้อบังคับ 3. ด้านสื่อลามก 4. ด้านสภาพแวดล้อม และ 5. ด้านเด็กนักเรียนผู้ตกเป็นเหยื่อ ในแง่ทางด้านพระพุทธศาสนาได้มองหาสาเหตุของการล่วงละเมิดทางเพศ คือ 1. กิเลส  2. การขาดความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 3. การขาดสติยับยั้ง ดังนั้นแนวทางการป้องปรามเชิงพุทธเพื่อแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนจึงใช้หลักพุทธธรรม อันได้แก่ ศีล สติ และหิริโอตตัปปะ มาเป็นเครื่องป้องปรามในสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยพลังบวรให้มีส่วนช่วยขัดเกลาสภาพจิตใจดูแลควบคุมเพื่อยับยั้งการกระทำผิดในสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามามีส่วนเกี่ยวข้อง

Article Details

How to Cite
วิสุทฺโธ (เอี่ยมสำลี) พ. (2023). แนวทางการป้องปรามการล่วงละเมิดทางเพศนักเรียนในสถานศึกษาเชิงพุทธ. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 2(1), 7–15. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/11
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). ปกกฎหมายกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม. วารสารพัฒนาสังคม, 9 (1), 1-29.

ดำรัส อ่อนเฉวียง.(2558). ภัยจากสื่อลามกที่มากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(20), 87-98.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. ราชกิจจานุเบกษา. วรรค 3.

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. (2558). แนวทางการป้องกันและช่วยเหลือปัญหาทางเพศของเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อรพินทร์ ชูชม. (2555). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 1-15.