แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำนักวัดป่าซำปักแฮด เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว

Main Article Content

บุญส่ง สินธุ์นอก
สมเดช นามเกตุ

บทคัดย่อ

แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำนักวัดป่า ซำปักแฮด เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาหลักคำสอนเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักวัดป่าซำปักแฮด เมือหาทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว และ 3. เพื่อศึกษาผลกระทบของการปฏิบัติที่มีต่อผู้เข้าปฏิบัติในสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดป่าซำปักแฮด เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว


ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักคำสอนเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาคือ หลักมหาสติปัฏฐาน ประกอบด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ประกอบการสอนเพื่อให้บุคคลเกิดปัญญาพิจารณาตามที่ทรงแสดง จนรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานพ้นจากทุกข์ในที่สุด


2) วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักวัดป่าซำปักแฮด นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ปฏิบัติในสติปัฏฐาน 4 และอิงตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นหลัก มีการเจริญสติกำหนดรู้รูปนามปัจจุบัน โดยเน้นการกำหนดรู้การเคลื่อนไหวในอิริยาบถทั้งหลาย ให้เห็นรูปนาม ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน โดยเน้นการปฏิบัติในห้องกรรมฐานมากกว่าการปฏิบัติรวมเป็นหมู่คณะ


3) ผลกระทบของการปฏิบัติที่มีต่อผู้เข้าปฏิบัติในสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดป่าซำปักแฮด นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ผู้เข้าปฏิบัติมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่สามารถเข้าใจหลักธรรมสติปัฏฐาน 4 เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
สินธุ์นอก บ., & นามเกตุ ส. (2023). แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำนักวัดป่าซำปักแฮด เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 1(1), 9–22. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/48
บท
บทความวิจัย

References

ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร). (2537). ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองวิริยะพัฒนา.

พระศรีวรญาณ วิ. (2554). หลักการปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก ใน เก็บเพรชจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิ ฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2532). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2550). อภิธัมมัตถวิภาวินีแปล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กาญจนบุรี: ม.ป.ท.

พุทธทาสภิกขุ. (2535). อานาปานสติสมบูรณ์แบบ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ. (2543). การศึกษาอิทธิพลของอายตนะ (สื่อ) ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปาน อานนฺโท. (2553). ธุระในทางพระพุทธศาสนา. เวียงจันทน์: โครงการพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.