ศรัทธาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสู่ปัญญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเกิดศรัทธาในพระรัตนตรัยแล้ว ความสมบูรณ์ด้วยศีลย่อมเกิดขึ้นตามมา ศีลทำให้บุคคลมีความสงบทั้งกายและใจ เป็นผู้ใฝ่หาในสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับตนด้วยการศึกษาหาความรู้ ให้รู้จริงเห็นจริงตามคลองธรรม มีจิตที่บริสุทธิ์ยอมเสียสละได้ในสิ่งที่เป็นของของตนให้กับผู้อื่น ด้วยเพราะเกิดปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริงในสัจธรรม ทำให้เป็นผู้เจริญและประเสริฐ เพราะถือมั่นยึดมั่นในสิ่งที่ดีไว้เป็นมงคลสำหรับชีวิต ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นผู้มีปกติสุข เมื่อยังไม่สิ้นชีวิต หากคิดที่จะบรรลุธรรมในระดับสูง คือ ตั้งแต่โสดาบันสกทาคามี อนาคามีไปจนถึงอรหันต์ หรือพระนิพพานก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พุทธทาสภิกขุ. (2538). ชุมนุมข้อคิดอิสระ พุทธทาสภิกขุ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พุทธทาสภิกขุ. (2561). เรื่องเรียน พุทธศาสนา ใน 15 นาที. เข้าถึงได้จาก www.udd hadasacom.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว). (2551). ศรัทธา รุ่งอรุณแห่งสันติภาพโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
รุ่งศิลป์
พระมหายุทธกร ปญฺญาสิริ (สัจจรัตนพงศ์). (2547). ศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาในพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาปรม โอภาโส (กองคำ). (2541). ศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาของชาวไทยในปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.