พุทธจิตวิทยา สาระแห่งสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
พุทธจิตวิทยาเป็นสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์คือ การทำจิตให้สงบด้วยการเรียนรู้หลักแห่งพุทธศาสนา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อนำหลักพุทธจิตวิทยามาวิเคราะห์พบว่าพุทธจิตวิทยาหรือจิตในทางพระพุทธศาสนานั้น มีหลักการที่สามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคมได้ เช่น พุทธจิตวิทยากับสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์ พุทธจิตวิทยากับการเรียนการสอน พุทธจิตวิทยากับการปกครอง จิตวิทยากับการดำเนินชีวิต พุทธจิตวิทยากับการให้คำปรึกษา เป็นต้น โดยสาระสำคัญของพุทธจิตวิทยาในแง่ของสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์มีดังนี้
1) วิเคราะห์ธรรมชาติดั้งเดิมของจิต พบว่าแม้ว่าจะมีหลักฐานว่าจิตของมนุษย์นั้นมีธรรมชาติบริสุทธิ์
แต่เศร้าหมองเพราะกิเลส เนื่องจากความจริงจิตมนุษย์ประภัสสรจริงแต่ก็ยังคงมีกิเลสอยู่ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสได้
2) หลักพื้นฐานของพุทธจิตวิทยามีพื้นฐานมาจากหลักการสำคัญตามสุตตะการอนุสาสนีปาฏิหาริย์ดังนี้ แนวคิดเรื่องกฎธรรมชาติ (อิทัปปัจยตา-ปฏิจจสมุปบาท) แนวคิดเรื่องกฎธรรมชาติคือนิยาม 5 ประการ
และแนวคิดเรื่องกฎไตรลักษณ์
3) พุทธจิตวิทยากับความเป็นมนุษย์ จากการศึกษามาทั้งหมดพบว่ามนุษย์มีองค์ประกอบสองส่วนคือกายกับจิตและจิตนั้นถือว่ามีอำนาจเหนือกาย ดังนั้นความเป็นมนุษย์จึงเกิดมาจากการที่กายกับจิตทำงานประสานสอดคล้องกัน
4) พุทธจิตวิทยากับปัญหาความเป็นเอกนิยมหรือสัจนิยม พบว่าจิตของพุทธศาสนาเถรวาทเป็นจิตที่มีกระบวนการทำงานแบบเกิดดับเปลี่ยนแปลงตามหลักอนิจจังดังนั้นจึงไม่ใช่จิตตามแนวคิดเอกนิยมแต่ประการใด
5) พุทธจิตวิทยากับปัญหาเรื่องเจตจำนงพบว่าจิตในทางพระพุทธศาสนานั้นมีเจตจำนงเสรีเป็นบางครั้ง บางครั้งก็ต้องตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยา และพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยหอการค้า, 29(4), 23-33.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2521). การศึกษาคืออะไร. กรุงเทพฯ: สำนักหนังสือธรรมบูชา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาไตรปิฏก 2500. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิริวรรณ มิตต์สัตย์สิริกุล. (2565). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุจังหวัดน่านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 21-34.