แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนาฏศิลป์ไทยการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์

Main Article Content

ศรีนวลพรรณญ์ จันณทรรอด

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ (2) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ไทยการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ (3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนาฏศิลป์ไทยการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ท่ารำทางนาฏศิลป์ไทยการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ได้มีการประดิษฐ์จาก (1) การเลียนแบบธรรมชาติ วิสัยสัตว์ อารมณ์ของมนุษย์  (2) การบวงสรวงบูชา ซึ่งมนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป และ (3) การรับอารยธรรมของอินเดีย จึงทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าท่ารำน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักพุทธศาสนาหรือพุทธประวัติจึงก่อให้เกิดการทำการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์หลักพุทธรรมที่มีอยู่ในท่ารำการแสดงนาฏศิลป์โขนพบได้ 3 ลักษณะ คือ


  1. มีลักษณะของท่ารำบางท่าที่มีความหมายตรงตัวกับหลักพุทธรรม หมายถึงมีความหมายเดียวกัน เช่น ท่าพรหมสี่หน้า หมายถึง อภิชัจจพละ กำเนิดในชาติตระกูลสูง เป็นขัตติยะชาติต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชน ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีตามประเพณี

  2. มีลักษณะของท่ารำบางท่าที่ไม่มีความหมายตรงตัว แต่สามารถนำมาอ้างอิงเป็นความหมายตามหลักพุทธรรม เช่น ท่าแขกเต้าเข้ารัง หมายถึง นกแขกเต้าเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง ยั่งยืน ยึดเหนี่ยวเพียงสิ่งเดียว เปรียบดังผู้มีศรัทธาจริต คือผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติเป็นปกติ ซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย

มีลักษณะท่ารำที่เปรียบเทียบเรื่องราวในพุทธประวัติเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น อารมณ์รักที่มีอยู่ในเรื่องกุสราชชาดก อารมณ์โกรธอยู่ในเรื่องเวเทหิ  อารมณ์เศร้าอยู่ในเรื่องปฏาจารา  อารมณ์ดีใจอยู่ในเรื่องธิดาช่างหูก

Article Details

How to Cite
จันณทรรอด ศ. (2024). แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนาฏศิลป์ไทยการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 1(2), 18–26. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/64
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2541). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).

กรสรวง ดีนวลพะเนาว์. (2556). รำไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. (2555). นาฏศิลป์. กรุงเทพฯ: สกสค ลาดพร้าว.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุทธนา แซ่พั่ว. (2555). บทบาทการเกี้ยวในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2558). ตำราฟ้อนรำ. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด.

แสง มนวิทูร. (2541). นาฎยศาสตร์. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.