พุทธศาสนากับสังคมวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอสภาพการณ์ทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ที่ไม่ได้มีเพียงการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแห่งโลกาภิวัตน์ หรือ Globalizations เท่านั้น แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกด้วย ซึ่งได้กลายเป็นสังคมวิถีใหม่ที่ผู้คนในสังคมจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดดังกล่าว แต่ถึงกระนั้น สติ ซึ่งเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนาก็สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ในครั้งนี้ เพื่อสร้างสังคมวิถีใหม่ที่ผู้คนในสังคมจะต้องดำรงอยู่ให้ได้นอกเหนือไปจากการดำรงชีวิตตามมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศ ดังนั้นแล้ว บทสรุปที่ได้จากบทความนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ. (2563). การประเมินผล กระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 .
คุรุสภาวิทยาจารย์,1(2), 5.
ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล. (2559). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในโลกยุคทันสมัย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18 (1),83.
นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน และคณะ. (2563). พุทธวิธีเพื่อการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด 19. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 16(2),44-45.
ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2),10.
สำราญ โคตรสมบัติ. (2563). การใช้สติกับวิถีชีวิตใหม่ในการปรับตัวในภาวะ COVID-19 ยุค New Normal. รวมบทความวิชาการโครงการสัมมนาวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม: สาละพิมพการ.
สุริชัย หวันแก้ว. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24.