พุทธจิตวิทยาสร้างสุขของผู้สูงวัย

Main Article Content

รุ่งนภา พลายเพ็ชร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุงหมาย เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและจิตวิทยาเชิงบวกในการเสริมสร้างจิตสภาวะความสุขของผู้สูงวัยในชุมชนประเทศนอร์เวย์ การวิจัยใชระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ด้านพุทธจิตวิทยา และด้านสื่อสารข้ามวัฒนธรรม จำนวน 17 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี 6’C Technic
และ Triangulation Technique


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่เสริมสร้างความสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับผู้สูงอายุในประเทศนอร์เวย์ คือ หลักพุทธธรรม คือ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญาและ สติปัฎฐาน 4 ทฤษฎีจิตวิทยา คือ ทฤษฎีแนวคิดเชิงบวก PERMA Model และแนวคิดการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม บูรณาการเพื่อเสริมสร้างสุขของผู้สูงวัยในประเทศนอร์เวย์ต่อไป

Article Details

How to Cite
พลายเพ็ชร์ ร. (2024). พุทธจิตวิทยาสร้างสุขของผู้สูงวัย. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 3(2), 18–28. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/88
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). เศรษฐศาสตร์การเมือง (เพื่อชุมชน). กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย (ปุณขันธ์) และคณะ. (2561). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(2),83-96.

ธารธรรม ฉันทอุไร. (2562). ส่องการสร้างสุขผู้สูงอายุโลก กับการพัฒนาความสุขของผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://voicelabour.org/ส่องการสร้างความสุขผู้/

Foundation of Thai Gerontology and Development Institute. (2009). Sathanakan phu sung-ayu thai pho so 2551. Retrieved February 1, 2022, from http://thaitgri.org/?p=36158

Seligman, M. (2011). Flourish A Visionary New Understanding of Happiness and Well-being. New York: Atria Books.