วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผีในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์

บทคัดย่อ

ผีเป็นสิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้ายซึ่งพระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธเรื่องผีเพราะมีปรากฏในพระไตรปิฎก โดยผีมีกำเนิดคือ มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มนุษย์มีความผูกพันกันและได้แสดงพฤติกรรมร่วมกันเกิดเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผี เพราะความเชื่อว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้ายโดยปรากฎเป็นวัฒนธรรมคือพิธีกรรมแซนโฎนตาคือประเพณีสารทเดือนสิบมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อบรรพบุรุษ ในการประกอบพิธีกรรมสารท (แซนโฎนตา) สถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมในระดับครอบครัวจะใช้บ้านของตนเองในระดับเครือญาติจะใช้บ้านผู้อาวุโสสูงสุดของตระกูลและในระดับชุมชนจะใช้ศาลาการเปรียญของวัดเป็นที่ประกอบพิธีส่วนวันและเวลาในการประกอบพิธีกรรมจะตรงกับวันแรม 14-15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี พิธีเลิงขม็อจแม่มดมอญหมายถึงผีบรรพบุรุษประจำตระกูล ซึ่งหากจะแปลรวมความตรง ๆ ก็คือ การมากระทำพิธี “ขึ้นผี” หรือหากพูดในอีกความหมายนัยหนึ่งก็คือ การมาส่ง “เครื่องบรรณาการ” ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำตระกูลโดยผู้ที่มาส่งเครื่องบรรณาการที่ว่านี้ก็คือ ลูกหลานในสายตระกูลที่ได้แต่งงานออกเหย้าออกเรือนกำลังจะสร้างครอบครัวใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะบอกกล่าวให้ดวงวิญญาณของท่านเหล่านั้นรับรู้ พร้อมกันนั้นก็ขอพรให้ท่านช่วยปกป้องคุ้มครองครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข พิธีกรรมปัญโจลมะม็วดจัดขึ้นเพื่อการรักษา การเจ็บไข้ได้ป่วย และเนื่องจากในพิธีกรรมนี้ มีการใช้ศาสตร์ดนตรี กันตรึม วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ เพื่ออัญเชิญจิตวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาประทับที่ร่างทรงของแม่มด ปัจจุบันจึงนิยมเรียกความหมายพิธีการปัญโจลมะม็วดนี้ว่า “การรักษาด้วยเสียงดนตรี” หรือดนตรีบำบัด

Article Details

How to Cite
พัฒนะสิงห์ ธ. (2024). วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผีในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 3(2), 29–39. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/90
บท
บทความวิชาการ

References

กชกร โพธิหล้า. (2555). การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลความเชื่อเรื่องผีปอบที่มีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาบ้านดอนยานาง จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรยุทธ บุญมี. (2546). พหุนิยม . กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พระยาอนุมานราชธน. (2508). ประเพณีเบ็ดเตล็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

พระยาอนุมารราชธน เสถียรโกเศศ. (2504). เรื่องเกี่ยวกับประเพณีไทย (เนื่องในเทศฏาลตรุษสารท). กรุงเทพฯ: แพร่การช่าง.

ราชบัณฑิตตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.

วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. (2553). บุรีรัมย์ ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. บุรีรัมย์: วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์.

ส. พลายน้อย. (2552). ตำนานผีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.ปริ้นท์.

เสถียรโกเศศ. (2549). ผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ: บีเค อินเตอร์ปริ้น.

อคิน รพีพัฒน์. (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย: ทฤษฎีและวิธีการของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร.