เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

รูปแบบการเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับบทความจะต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ MS Word for Windows ขนาดกระดาษ A4 แบบอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 ความยาวของเนื้อหาไม่ควรเกิน 20 หน้า (นับรวมรายการอ้างอิง)
  2. การตั้งค่าหน้ากระดาษ ระยะของส่วนบน (Top Margin) ระยะขอบซ้าย (Left Margin) ระยะ ขอบขวา (Right Margin) และระยะขอบล่าง (Bottom Margin) 1 นิ้ว
  3. ชื่อเรื่อง จะต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ขนาดตัวอักษร 20 ตัวหนา
  4. ชื่อผู้เขียน พิมพ์ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบกระดาษด้านขวา ขนาดตัวอักษร 14 อักษรปกติ และให้ระบุตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียน เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน และ E-mail ของผู้เขียนบทความหลักไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก
  5. ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน พิมพ์ชื่อหน่วยงานผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่บรรทัดส่วนล่างสุด ในหน้าแรก ขนาดตัวอักษร 12 อักษรปกติ ระบุ หน่วยงานต้น เรียงไปจนถึง หน่วยงานหลัก และ E-mail (สำหรับผู้เขียนหลัก) และให้ระบุตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อหน่วยงานผู้เขียน เพื่อแสดงรายละเอียดชื่อผู้เขียนบทความทุกท่านไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก
  6. บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษความยาวไม่เกิน 350 คำ และอยู่ในบทความหน้าที่ 1 เท่านั้น และใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวปกติ โดยที่คำว่า บทคัดย่อ และคำว่า Abstract ให้ใช้ตัวหนา
  7. คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เลือกคำสำคัญที่เกี่ยวกับบทความจำนวนไม่เกิน 5 คำ โดยพิมพ์ต่อจากส่วนของเนื้อหาของบทคัดย่อ และให้ใช้ตัวอักษาขนาด 16 ตัวอักษรปกติ โดยที่คำว่า คำสำคัญ และคำว่า Keywords ให้ใช้ตัวหนา
  8. เนื้อเรื่อง ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ หัวข้อใหญ่ใช้อักษรขนาด 16 ตัวหนา จัดชิดซ้ายคอมลัมน์ หัวข้อย่อย ใช้อักษรขนาด 16 ตัวปกติ บรรทัดแรกของทุกย่อหน้าเยื้อง 0.5 นิ้วของบรรทัดถัดไป เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ให้เว้นระยะบรรทัดหนึ่งบรรทัดเสมอ
  9. บทความวิจัยให้จัดเรียงลำดับตามหัวข้อดังนี้

                    9.1 บทนำ (ระบุความสำคัญหรือที่มาของปัญหาของสิ่งที่ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัยที่นำไปสู่วัตถุประสงค์ของการวิจัย)

                    9.2 วัตถุประสงค์การวิจัย (ระบุถึงเป้าหมายของสิ่งที่ศึกษา)

                    9.3 การทบทวนวรรณกรรม (ระบุถึงแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษาที่นำไปสู่กรอบแนวคิดการวิจัย/กระบวนการทำวิจัย)

                    9.4 กรอบแนวคิดการวิจัย (กรณีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ) (ระบุกรอบแนวคิดการวิจัยที่มีฐานเชื่อมโยงมาจากการทบทวนวรรณกรรม)

                    9.5 กระบวนการทำวิจัย (กรณีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ) (ระบุกระบวนการทำวิจัยที่มีฐานเชื่อมโยงมาจากการทบทวนวรรณกรรม)

                    9.6 วิธีการวิจัย (ระบุรายละเอียดในวิธีการวิจัย การดำเนินการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า เช่น  การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง/ประชากรเป้าหมาย การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง/ประชากรเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การหาคุณภาพของเครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

                    9.7 การรับรองจริยธรรมการวิจัย/การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูลหลัก (หากเป็นงานวิจัยที่จำเป็นต้องมี)  

                    9.8 ผลการวิจัย (เสนอผลการวิจัยที่ค้นพบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน)

                    9.9 อภิปรายผลการวิจัย (เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่ผ่านมา)

                    9.10 สรุปผลการวิจัย (ระบุข้อสรุปที่สำคัญ ข้อค้นพบที่โดดเด่น)

                    9.11 ข้อเสนอแนะ (ระบุแยกออกเป็น 2 ประเด็นคือ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป)

                    9.12 รายการอ้างอิง (ใช้การอ้างอิงแบบ APA7th เท่านั้น และทุกรายการอ้างอิงในเนื้อหาจะต้องปรากฏในรายการอ้างอิงท้ายรายการ)

      10. บทความวิชาการให้จัดลำดับตามหัวข้อดังนี้

                    10.1 บทนำ (ระบุความสำคัญหรือที่มาของปัญหาของสิ่งที่ทำการศึกษา ค้นคว้าที่นำไปสู่วัตถุประสงค์ของการวิจัย)

                    10.2 วัตถุประสงค์ (ระบุถึงเป้าหมายของสิ่งที่ศึกษา)

                    10.3 เนื้อเรื่อง (ระบุสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ)

                    10.4 บทสรุป (ระบุข้อสรุปที่สำคัญ ข้อค้นพบที่โดดเด่น)

                    10.5 ข้อเสนอแนะ (ระบุแนวทางในการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์) 

                    10.6 รายการอ้างอิง (ใช้การอ้างอิงแบบ APA7th เท่านั้น และทุกรายการอ้างอิงในเนื้อหาจะต้องปรากฏในรายการอ้างอิงท้ายรายการ)

 

การเขียนรายการอ้างอิง

  1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-Text Citation)

ใช้ระบบนาม-ปี (Name – year system) ตัวอย่างเช่น

ผู้แต่ง 1 คน

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ

                              บงกช กมลเปรม (2567)

                              Kamolprem (2024)

                              การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ

                              (บงกช กมลเปรม, 2567)

                              (Kamolprem, 2024)

ผู้แต่ง 2 คน

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ

                              บงกช กมลเปรม และสรัญณี อุเส็นยาง (2567)

                              Kamolprem and U-senyang (2024)

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ

                              (บงกช กมลเปรม และสรัญณี อุเส็นยาง, 2567)

                              (Kamolprem & U-senyang, 2024)

 

ผู้แต่ง 3 คน หรือ 3 คน ขึ้นไป

กรณีผู้แต่งชาวไทย และผู้แต่งชาวต่างชาติ ให้ใส่เฉพาะชื่อผู้แต่งคนแรกตามด้วยคำว่า และคณะ หรือคำว่า et al.

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ

บงกช กมลเปรม และคณะ (2567)

Kamolprem et al. (2024)

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ

(บงกช กมลเปรม และคณะ, 2564)

(Kamolprem et al., 2021)

 

ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน

          ให้ใส่ชื่อหน่วยงาน สถาบัน สมาคม หรือบริษัท แทนชื่อผู้แต่ง สำหรับการอ้างอิง  ครั้งแรก ให้ใส่ชื่อเต็มของหน่วยงาน ตามด้วยอักษรย่อ ในเครื่องหมายลงเล็บเหลี่ยม [  ] และการอ้างอิงครั้งต่อไป ให้ใส่เฉพาะอักษรย่อ หากอักษรย่อบางหน่วยงานซ้ำซ้อนกัน ให้ใส่ชื่อเต็มของหน่วยงานในการอ้างอิงทุกครั้ง

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ (ครั้งแรก)

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว., 2567)

          Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI, 2023)

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ (ครั้งต่อมา)

          อว. (2567)

          MHESI (2024)

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ (ครั้งแรก)

          (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [อว.], 2567)

          (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation [MHESI], 2023)

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ (ครั้งต่อมา)

          (อว., 2567)

          (MHESI, 2024)

 

          กรณีที่มีทั้งชื่อหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย เฉพาะต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ

          มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ (2567)

          The University of Sydney, Faculty of Management Sciences (2024)

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ

          (มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ, 2567)

          (The University of Sydney, Faculty of Management Sciences, 2024)

          การอ้างอิงเอกสารมากกว่าหนึ่งงานที่ผู้แต่งต่างกัน

          ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง โดยเรียงตามลำดับอักษร แยกแต่ละรายการอ้างอิง โดยคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค ( ; ) หากมีทั้งงานภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงรายการอ้างอิงภาษาไทยก่อน

          (สุมาลี กรดกางกั้น, 2567; ชนาธิป หวังวรวงศ์, 2567)

          (Wheelen & Hunger, 2000; Hawkins, et al., 1998)

 

การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ (Secondary source)

          การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้ศึกษาจากเอกสารต้นฉบับ (Primary source) โดยตรงให้ระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารต้นฉบับ ให้ใส่คำว่า อ้างถึงใน หรือ as cited in และตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารทุติยภูมิ

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ

          ธมยันตี ประยูรพันธ์ (2562, อ้างถึงใน กฤษณา พรหมชาติ, 2567)

          Phayoonpun (2019, as cited in Promchart, 2024)

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ

          (ธมยันตี ประยูรพันธ์, 2562 อ้างถึงใน กฤษณา พรหมชาติ, 2567)

          (Phayoonpun, 2019, as cited in Promchart, 2024)

 

การอ้างอิงจากการสื่อสารส่วนบุคคล (Personal communication)

          การสัมภาษณ์ หรือการสนทนากลุ่ม กรณีไม่มีการเผยแพร่ข้อมูล ให้ระบุเฉพาะอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเท่านั้น โดยไม่ต้องใส่รายการอ้างอิงท้ายเล่ม

          การอ้างอิงภาษาไทย

          ชื่อผู้สื่อสาร (การสื่อสารส่วนบุคคล, วัน เดือน ปี)

          (ชื่อผู้สื่อสาร, การสื่อสารส่วนบุคคล, วัน เดือน ปี)

          การอ้างอิงภาษาต่างประเทศ

          อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อกลาง. ชื่อสกุลผู้สื่อสาร (personal communication, เดือน วัน, ปี)

          (อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อกลาง. ชื่อสกุลผู้สื่อสาร, personal communication, เดือน วัน, ปี)

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ

          พัชนี ตูเล๊ะ (การสื่อสารส่วนบุคคล, 3 เมษายน 2567)                                                                                                  Tuleh. (personal communication, April 3, 2024)

          การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ท้ายข้อความ

          (พัชนี ตูเล๊ะ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 3 เมษายน 2567)

          (P. Tuleh. personal communication, April 3, 2024)

 

  1. รายการอ้างอิงท้ายบทความ (References)

2.1 การลงชื่อผู้แต่ง

                   1) ผู้แต่ง 1 คน

กรณีผู้แต่งชาวไทย ให้ใส่ชื่อ ตามด้วยสกุลผู้แต่ง โดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ คั่น

กรณีผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วนเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี)

ผู้แต่งชาวไทย

         พูนพิศ ธิตินันทน์                      ลงชื่อผู้แต่งเป็น   พูนพิศ  ธิตินันทน์

ผู้แต่งชาวต่างประเทศ

         Herman Melville                   ลงชื่อผู้แต่งเป็น   Melville, H.

         Nikolai Vasilievish Gogol     ลงชื่อผู้แต่งเป็น   Gogol, N. V.

 

2) ผู้แต่ง 2 คน

    กรณีผู้แต่งชาวไทย ให้ใส่ชื่อและสกุลผู้แต่งทั้ง 2 คน ใช้คำว่า และ คั่นระหว่างผู้แต่งคนที่ 1 และคนที่ 2

    กรณีผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลางของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่น และตามด้วย & หน้าชื่อสกุลผู้แต่งคนที่ 2

     สุรเชษฐ์ สังขพันธ์ และรุ่งศิริ ผดุงรัตน์

     Sangkhapan, S., & Phadungrat, R.

 

3) ผู้แต่ง 3-20 คน

         กรณีผู้แต่งชาวไทย ให้ใส่ชื่อสกุลผู้แต่งทุกคน คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ใช้คำว่า และ หน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย

         กรณีผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลางของผู้แต่งทุกคน โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างผู้แต่งทุกคนและตามด้วย & หน้าชื่อสกุลผู้แต่งคนสุดท้าย

บงกช กมลเปรม, สุมาลี กรดกางกั้น, ชนาธิป หวังวรวงศ์, ศรัณ เนื้อน้อย, สรัญณี อุเส็นยาง, ธมยันตี ประยูรพันธ์, ศิริลักษณ์ อินทสโร, พัชนี ตูเล๊ะ, พูนพิศ ธิตินันทน์, กฤษณา พรหมชาติ, สุรเชษฐ์ สังขพันธ์, รุ่งศิริ ผดุงรัตน์ และอิบรอฮิม สารีมาแซ

      

 

4) ผู้แต่ง 21 คน ขึ้นไป

    ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ 1 ถึงผู้แต่งคนที่ 19 คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ระหว่างผู้แต่งทุกคน ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค 3 จุด ( . . . ) โดยหน้าและหลังของจุด ต้องเว้นวรรค 1 ตัวอักษร และตามด้วยชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย

บงกช กมลเปรม, สุมาลี กรดกางกั้น, ชนาธิป หวังวรวงศ์, ศรัณ เนื้อน้อย, สรัญณี อุเส็นยาง, ธมยันตี ประยูรพันธ์, ศิริลักษณ์ อินทสโร, พัชนี ตูเล๊ะ, พูนพิศ ธิตินันทน์, กฤษณา พรหมชาติ, สุรเชษฐ์ สังขพันธ์, รุ่งศิริ ผดุงรัตน์, อิบรอฮิม สารีมาแซ, พรทิพย์ มานพคำ, รอยฮาน สะอารี, วีรศักดิ์ โศจิพันธุ์, ไฮดา สุดินปรีดา, โซเฟีย สามะอาลี, เปาซี วานอง, . . . นิฟาตีฮะ ปัตนวงศ์.

 

                    2.2 ประเภทรายการอ้างอิง

                         1) บทความในวารสารฉบับตีพิมพ์

                             1.1) ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง

                             1.2) ปีพิมพ์ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) สำหรับงานภาษาต่างประเทศให้ใช้เป็นปี ค.ศ.

                             1.3) ชื่อบทความ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when ,after, before, because

                             1.4) ชื่อวารสาร ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกในแต่ละคำด้วยตัวพิมพใหญ่ และเป็น ตัวพิมพ์เอียง

                             1.5) ปีที่วารสาร พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เอียง

                             1.6) ฉบับที่ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ติดกับปีที่ แต่ไม่ต้องเป็นตัวพิมพ์เอียง

                             1.7) เลขหน้า

 

                         รูปแบบ

                         ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

                         นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),เลขหน้า.

กันยปริณ ทองสามสี, อิสระ ทองสามสี และณรรช หลักชัยกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว                ตามสิทธิกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขา                      มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 70-88.

U-senyang, S., Trichandhara, K., & Rinthaisong, I. (2017). Antecedents of Organizational Health in                  Southern Thailand. International Journal of Behavioral Science,12(1), 79-94.

 

                         2) บทความในวารสาร ฉบับที่เผยแพร่ออนไลน์

                         รูปแบบ

                         ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./URL

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./URL

สรัญณี อุเส็นยาง และโซเฟีย สามะอาลี. (2563). การจัดการการผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านอัดจากกะลามะพร้าวสู่การพัฒนา             วิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวบ้านทอนอามานจังหวัดนราธิวาส. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,               9(3), 42-53. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wms/article/view/243624/1 65314

Amage, N., & Thudam, P. (2023). Adaptation Potential of Small Business Entrepreneurs to Support Trade Liberalization in ASEAN Economic Countries. Case Study: Songkhla Province. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 10(1), 315-333. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/261 965/177420

 

                         3) บทความในวารสาร ที่มีเลข Digital Object Identifier (DOI)

                         รูปแบบ

               ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./https://doi.org/เลข DOI

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./https://doi.org/เลข DOI

ศจี อินทฤทธิ์ และสรัญณี อุเส็นยาง. (2567).คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ                      บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนราธิวาส .วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 16(1),              111-126. https://doi.org/10.55164/ecbajournal.v16i1.265160

U-senyang, S. (2022). Ethical Leadership: Factors Affecting Happiness organizations. International               Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews (IJSASR), 2 (2), 17-28.                                           https://doi. org/10.14456/jsasr.2022.9

 

  1. หนังสือ

         1) ชื่อผู้แต่งให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง

         2) ปีพิมพ์ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมาย (   ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ. กรณีที่ไม่ปรากฏปีพิมพ์ ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)

         3) ชื่อหนังสือ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง

        4) กรณีหนังสือจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้ระบุ (พิมพ์ครั้งที่/เลข) ไว้หลังหนังสือโดย   ไม่ต้องคั่นด้วยเครื่องหมาย ( . ) สำหรับงานต่างประเทศให้ใส่ตัวย่อ ed. ไว้หลังครั้งที่พิมพ์

       5) สำนักพิมพ์ ไม่ใส่คำว่า สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน จำกัด บริษัท จำกัด มหาชน ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันการศึกษา ให้ใส่ตามข้อมูลที่ปรากฎ เช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น หรือภาษาต่างประเทศที่ใช้คำว่า Books หรือ Press

       6) กรณีไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ให้ใส่ (ม.ป.พ.) หรือ (n.p.)

                         รูปแบบ

                         ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ./สำนักพิมพ์

                         นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์).ชื่อหนังสือ./สำนักพิมพ์.

สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ถอดรหัสการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยและการสร้างกลยุทธ์จากฐานการวิจัย. โรงพิมพ์                    แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2000). Strategic Management and Business Policy. Prentice Hall.

 

รูปแบบ (ตีพิมพ์ 2 ครั้งขึ้นไป)

                         ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่/เลข)./สำนักพิมพ์

                         นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์).ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่/เลข)./สำนักพิมพ์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการ             วิจัยอนาคตกาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สามลดา.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper & Row.

 

                         รูปแบบ (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)

                         ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่/เลข)./สำนักพิมพ์./URL

                         นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์).ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่/เลข)./สำนักพิมพ์./URL

 

                         รูปแบบ (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเลข DOI)

ชื่อ/นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่/เลข).สำ นักพิมพ์./https://doi.org /เลข DOI

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์).ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่/เลข)./สำนักพิมพ์./https://doi.org/เลข DOI

 

                         รูปแบบ (หนังสือแปล)

                         นามสกุล,/ชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง (ชื่อผู้แปล,/ผู้แปล)/พิมพ์ครั้งที่./สำนักพิมพ์.

                         คอตเลอร์, ฟิลิป. (2554). การตลาด 3.0 (ณงลักษณ์ จารุวัฒน์, ผู้แปล). เนชั่นบุ๊ส์.

 

  1. วิทยานิพนธ์

                        1) ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง

                        2) ปีที่เผยแพร่ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ.

                        3) ชื่อวิทยานิพนธ์ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง

                        4) ให้ใส่คำว่า วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้ใส่คำว่า Master’s thesis หรือ Doctoral dissertation

                        5) ชื่อมหาวิทยาลัย

 

                    รูปแบบ (วิทยานิพนธ์ ฉบับตีพิมพ์)

ชื่อ/นามสกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[Master’s thesis หรือ Doctoral dissertation]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

 

สรัญณี  อุเส็นยาง. (2559). สุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย : การพัฒนา              โมเดลสมการโครงสร้างและการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตามบริบวัฒนธรรมและประเภทของ                   องค์การ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Mayi, L. (2011). Doing repair in Native-Non-Native talk: A Conversation analytic study of Thai-English interaction [Master’s thesis]. York St John University.

 

                    รูปแบบ (วิทยานิพนธ์ จากฐานข้อมูลออนไลน์)

ชื่อ/นามสกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือ  ////////วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล./URL

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[Master’s thesis หรือ Doctoral

                    ///////dissertation,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล./URL

ศศิณา นิยมสุข และฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่องรำวง                          มาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok สำหรับนักเรียน              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].                                                    http://202.28.34.124/dspace/ bitstream/123456789/1648/1/63010552 033.pdf

Wilbert, K. (2016). Transforming to 21st Century Learning Environments: Best Practices Revealed                          through a Study of Exemplar Schools [Doctoral dissertation, Brandman University].                                https://digitalcommons.umassglob al.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1                                                002&context=edd_dissertations

 

  1. รายงานวิจัย

                        1) ชื่อผู้แต่งหรือหน่วยงาน ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง

                        2) ปี ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ.

                        3) ชื่อเรื่อง สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง

                        4) สำนักพิมพ์

                    รูปแบบ

                    ชื่อ/สกุล./(ปี)./ชื่อเรื่อง/(รายงานการวิจัย)./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)

                    นามสกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปี)./ชื่อเรื่อง/(Research report)./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)

 

  1. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ

                        1) ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง

                        2) ปี ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ.

                        3) ชื่อบทความ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง

                        4) ให้ใส่คำว่า ใน หรือ In ตามด้วยชื่อบรรณาธิการหรือชื่อหน่วยงาน หากเป็นบรรณาธิการ ให้ใส่คำว่า บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds. ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ กำกับไว้หลังชื่อบรรณาธิการ

                        5) ชื่อหัวข้อการประชุม

                        6) ชื่อการประชุม ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกในแต่ละคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และเป็นตัวพิมพ์เอียง จากนั้นให้ใส่ตัวอักษรย่อ น. หรือ pp. ตามด้วยเลขหน้า ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

                        7) กรณีที่มีเลข DOI หรือ URL ให้ใส่ต่อจากฐานข้อมูลหรือชื่อหน่วยงานจัดการประชุม

 

                    รายงานประชุมวิชาการ (Proceeding) รูปแบบหนังสือ

                    รูปแบบ

ชื่อ/สกุล./(ปี)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.) หรือชื่อหน่วยงาน,/ชื่อหัวข้อการ ////////ประชุม,/ชื่อการประชุม/(น./เลขหน้า)./ฐานข้อมูล หรือชื่อหน่วยงานจัดการประชุม.

นามสกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปี)./ชื่อบทความ./In/ชื่อบรรณาธิการ/(Ed. หรือ Eds.) หรือชื่อ ////////หน่วยงาน,/ชื่อหัวข้อการประชุม,/ชื่อการประชุม/(pp./เลขหน้า)./ฐานข้อมูล หรือชื่อ ////////หน่วยงานจัดการประชุม.

สรัญณี อุเส็นยาง. (2562). แนวทางการอนุรักษ์และจัดการสถาปัตยกรรมอิสลามในสามจังหวัดภาคใต้ในฐานะมรดก                ทางวัฒนธรรม. ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บ.ก.), เจียระไนเพชร, การประชุมวิชาการโครงการเจียระไนเพชรเพื่อ                  พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่านระบบ Multi-Mentering System (MMS8 สาขามนุษยศาสตร์และ                            สังคมศาสตร์ และศิลปกรรม (น. 73-96). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม                    (สกสว.).

Kaewnunual, W., Daungkaew, R., Chongcharean, K., & Sirisanhiran, S. (2022). Prelimnary Study on               the Management Strategies for State Universities in The Southern Border Provinces of                       Thailand Towards Digital Organizations. In S. Nitiphak (Ed.), The 2nd National and 2nd                          International Hybrid Conference on Languages, Humanities, Social Sciences, and Education 2023              (pp. 419-429). Faculty of Liberal Arts, Princess of Naradhiwas University.

 

รายงานประชุมวิชาการ (Proceeding) รูปแบบวารสาร

รูปแบบ

ชื่อ/สกุล./(ปี)./ชื่อบทความ./ชื่อการประชุม,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./URL

นามสกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปี)./ชื่อบทความ./ชื่อการประชุม,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./URL

 

  1. สารสนเทศจากเว็บไซต์

                        1) ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง

                        2) ปี วัน เดือนที่เผยแพร่ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้ใส่ ปี เดือน วัน โดยเรียงต่างจากงานภาษาไทย กรณีที่ไม่ปรากฏวัน เดือนที่เผยแพร่ ให้ใส่เฉพาะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. เท่านั้น และกรณีที่ไม่ปรากฏ ปี วัน เดือนที่เผยแพร่ ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)

                        3) ชื่อเรื่อง สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง

                        4) ชื่อเว็บไซต์ กรณีที่ชื่อผู้แต่งและชื่อเว็บไซต์เป็นชื่อเดียวกัน ให้ตัดชื่อเว็บไซต์ออก                   

                        5) URL ระบุตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยไม่ต้องตามด้วยเครื่องหมาย

มหัพภาค ( . ) ตรงส่วนท้าย

                    รูปแบบ

                    ชื่อ/นามสกุล./(ปี,/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./URL

                    นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปี,/เดือน/วันที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./URL

วรรณกร ชัยรัตน์. (2563, 6 มีนาคม). กรมปศุสัตว์ส่งเสริมการเลี้ยงแพะให้แก่เกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรม                   ปศุสัตว์. https://secretary.dld.go.th/webnew/in dex.php/th/news-menu/dld-editorial-                           menu/5917-4-2563

Kurt, S. (2017, August 29). ADDIE Model: Instructional Design. Educational Technology.                                       https://educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional-design/