ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซี ในจังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดนราธิวาส และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดนราธิวาส เป็นงานวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบระบบ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาหรือผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพศหญิง มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท นิยมซื้อสินค้าผ่าน TikTok โดยเฉพาะเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงาม มักซื้อสินค้าในช่วงกลางคืนและใช้จ่ายไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง ผลการวิเคราะห์ความถดถอยพบว่าส่วนประสม ทางการตลาด 4Es มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในระดับสูง (R² = 72.63%) โดยการสร้างประสบการณ์ อิทธิพลมากที่สุด (Beta = 0.403) รองลงมาคือ การสร้างลูกค้าประจำ Beta = 0.235 การสร้างการเข้าถึงง่าย Beta = 0.188 และการสร้างคุณค่า (Exchange) Beta = 0.103 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะดวกในการค้นหาสินค้า ระบบติดตามสถานะ และโปรโมชั่นเป็นหลัก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากลยุทธ์การตลาดที่เน้นประสบการณ์และความสะดวกในการเข้าถึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซี ธุรกิจควรมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย สร้างประสบการณ์ที่ดี และใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
Article Details
References
กรมธุรกิจการค้า. (2564). รายงานประจำปี 2564 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. https://drmlib.parliament.go.th/site.php mod=document&op=checkout
ชนิดา พุ่มนิคม. (2564). พฤติกรรมการบริโภคและความอ่อนไหวด้านราคาของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นซีในพื้นที่ภาคใต้. วารสารบริหารธุรกิจและการจัดการ, 10(2), 45-62.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โชติมา วัฒนะ. (2561). เครือข่ายสังคมออนไลน์-ประโยชน์และโทษ. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 24(1), 127-140.
ณัฐพล ม่วงทำ. (2565). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นซีในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 45(174), 34-52.
ทศพล ปรีชาศิลป์ และพัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์. (2565). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 251-262.
ไทยรัฐออนไลน์. (2566, 11 พฤษภาคม). เปิดพฤติกรรม GenZ ผู้ขับเคลื่อนตลาดออนไลน์. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2693000
ธนาภา หิมารัตน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน บริบทธนาคารพาณิชย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). (2567). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2566-2568. https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-20 23-2025
ไปรยา อรรคนิตย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งต่อ (Share) วิดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อ Social Media (โซเชียลมีเดีย) ของวัยรุ่น Gen Z [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 4E กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 78-90.
ระบบสารสนเทศกรมสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2567). รายงานข้อมูลจังหวัดนราธิวาส. https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_ampur?region=12&prov=OTY=&pro vn=4LiZ4Lij4Liy4LiY4Li04Lin4Liy4Liq
รัตติยา บัวสอน. (2566). การสร้างประสบการณ์ลูกค้าผ่านเนื้อหาเชิงโต้ตอบบนสื่อสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาแบรนด์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี. วารสารการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, 8(3), 112-129.
วิทยา ด่านธำรงกูล. (2566). กลยุทธ์การสร้างความภักดีและการสนับสนุนแบรนด์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจ, 46(2), 56-75.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนราธิวาส. (2668). ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส (กรอ.จ.นราธิวาส) ครั้งที่ 3/2568. https://narathiwat.moc. go.th/th/page/item/index/id/25
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). ข้อมูลพื้นฐานด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้. http://idc.sbpac.go.th/web/dash_pp_age_dashboard.php
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2567. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2566. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อรรนพ เรืองกัลปวงศ์. (2565). อิทธิพลของการออกแบบแพลตฟอร์มและช่องทางการเข้าถึงต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นซี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 18(2), 42-59.
Cheung, M. L., Pires, G. D., & Rosenberger, P. J. (2021). The influence of social media influencers on purchase intention: The mediating role of trust. Journal of Business Research, 130, 322-334.
Francis, T., & Hoefel, F. (2018). ‘True Gen’: Generation Z and its implications for companies. McKinsey & Company.
Fetherstonhaugh, B. (2018). The 4Es of Marketing: The New 4Ps. Ogilvy One Worldwide.
Francis, T., & Hoefel, F. (2018). 'True Gen': Generation Z and its implications for companies. McKinsey & Company.
Fromm, J., & Read, A. (2021). Marketing to Gen Z: The rules for reaching this vast and very different generation of influencers. AMACOM.
Global Web Index. (2023). Social media trends among Generation Z consumers. GWI Annual Report.
Krittanawong, C., Johnson, K. W., Rosenson, R. S., Wang, Z., Aydar, M., & Baber, U. (2020). Artificial intelligence in digital marketing and its impact on consumer engagement. Journal of Retailing and Consumer Services, 54, 101974.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. (5th ed.). Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital. John Wiley & Sons.
Kotler, P., & Keller, K. (2021). Marketing Management (15th Global ed.). Pearson Education Limited.
Nielsen, R. (2015). Global Trust in Advertising Report. Nielsen Global Survey of Trust in Advertising.
Pine, B. J., & Gilmore, J. H. (2019). The experience economy: Competing for customer time, attention, and money. Harvard Business Press.
Priporas, C. V., Stylos, N., & Fotiadis, A. K. (2017). Generation Z consumers' expectations of interactions in smart retailing: A future agenda. Computers in Human Behavior, 77, 374-381.
Statista. (2022). Generation Z purchasing behaviors on social media platforms. Statista Research Department. https://www.statista.com/statistics/1395679/online-purchase-drivers-gen-z/
Schmitt, B. (1999). Experiential Marketing. Journal of Marketing Management, 15(13), 53-67.
Sashi, C. M. (2021). Digital marketing engagement, advocacy and loyalty among Generation Z consumers. Journal of Marketing Management, 37(5), 549-577.
Turner, A. (2022). Generation Z: Technology and social interest. Journal of Individual Psychology, 71(2), 103-113.
Yamane, T. (1973). Statistics: An int Introductory analysis (3rd ed.). Harper International Edition.