องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวแปรของความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาในจังหวัดเขตพื้นที่อันดามัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
DOI: https://doi.org/10.14456/iaj.2024.3
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวแปรความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว คุณค่าที่รับรู้ การตลาดเชิงประสบการณ์ แรงจูงใจในการท่องเที่ยว และความภักดีของนักท่องเที่ยว เก็บข้อมูลจากผู้มาใช้บริการในโรงแรมประเภทรีสอร์ท และสปา ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ได้แก่ รัสเซีย ออสเตรเลีย เยอรมัน และสหราชอาณาจักรเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 ตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นชาวยุโรปและเคยมาใช้บริการสปาภายในโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดเขตพื้นที่อันดามัน การสุ่มตัวอย่างในแต่ละแหล่งท่องเที่ยวประเภทสปาในโรงแรมและรีสอร์ท เขตพื้นที่อันดามันคัดเลือกเฉพาะโรงแรมและรีสอร์ทในระดับ 4 ดาวเป็นต้นไป ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 64 แหล่ง กำหนดจำนวนโรงแรมที่เข้าเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาร้อยละ 50 ของจำนวนแหล่งโรงแรมและรีสอร์ททั้งหมด ได้จำนวนเท่ากับ 32 แหล่ง ในการเลือกจำนวนโรงแรมและรีสอร์ทแต่ละจังหวัดใช้วิธีการการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยจังหวัดกระบี่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงแรมและรีสอร์ท จำนวน 9 แหล่ง จังหวัดพังงา 2 แหล่ง และจังหวัดภูเก็ต 21 แหล่ง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้จับฉลากรายชื่อโรงแรมและรีสอร์ทแต่ละจังหวัดให้ได้จำนวนตามที่กำหนด การเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละโรงแรมและรีสอร์ทใช้การเก็บข้อมูลในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโรงแรมและรีสอร์ทละ 6-7 ตัวอย่าง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้รับบริการจากการใช้บริการของสปาเสร็จสิ้นแล้ว
ผลการวิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันของความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาในจังหวัดเขตพื้นที่อันดามัน พบว่าโมเดลการวัดตัวแปรความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาในจังหวัดเขตพื้นที่อันดามัน อันได้แก่ ตัวแปรด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว คุณค่าที่รับรู้ การตลาดเชิงประสบการณ์ แรงจูงใจในการท่องเที่ยว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย ค่าไคสแควร์/df มีค่าเท่ากับ 2.33 (291.21/125) p<.001 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.07 NNFI เท่ากับ 0.93 CFI เท่ากับ 0.90 และ SRMR เท่ากับ 0.06
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. http://www.mots.go.th.
กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (2561). สถานการณ์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. http://www.osmsouth-w.moi.go.th.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2562). ธุรกิจสปาไทยติด Top 5 ของเอเชีย. https://thestandard.co/thai-spa-top-5- asian-spa/
สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2562). อิทธิพลของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การท่องเที่ยวเชิงกีฬา จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา อีเวนต์มาราธอน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 236-250.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Baggio, R., & Klobas, J. E. (2011). Quantitative Methods in Tourism: A Handbook. the MPG Books Group.
Dick, A., & Basu, K. (1994). Customer loyalty: Toward an integrated conceptual framework. Journal of the Academy of Marketing Science, 37(2), 170-180.
Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to Lisrel: A guide for the Uninitiated. SAGE Publications.
Field, A. (2013). Discovering Statistics Using SPSS. (4th ed.). SAGE.
Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating Structural Equation Models with Unobservable and Measurement Error. Journal of Marketing Research, 34(2), 161-188.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th ed.). Pearson Prentice Hall, Harper Collins College.
Kaplan, D. (2000). Structural Equation Modeling. Sage Publications.
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.). The Guilford.
Martina G. G., & Irene, G. S. (2006). Value Dimensions, Perceived Value, Satisfaction. and Loyalty: an Investigation of University Students’ Travel Behaviors. Tourism Management, 27(1), 437–452.
Myung J., Namho, B., & Choong-Ki, L. (2011). The Effect of Perceived Trust on Electronic commerce: Shopping Online for Tourism Products and Services in South Korea. Tourism Management, 32(11), 256–265.
Nguyen, T.D, & Mai, T.C.H. (2017). The role of perceived risk on intention to use online banking in Vietnam. In International Conference on Advances in Computing, Communications and Informatics (ICACCI) Udupi, pp. 1903-1908. IEEE. https://doi.org/10.1109/ICACCI.20 17.8126122
Oliver, R. L. (1999). Whence Consumer Loyalty. Journal of Marketing, 63(1), 33-44.
Putri, Y. A., Astuti-Tri, S. (2020). Analisis Pengaruh Experiential Marketing Terhadap Loyalitas Pelanggan Hotel “X” Semarang. Journal of Entrepreneurship Education, 12(2), 1-11.
Rubio, N., Villasenor, N., & Yague, M. J. (2017). Creation of Consumer Loyalty and Trust in the Retailer Through Store Brands: The Moderating Effect of Choice of Store Brand Name. Journal of Retailing and Consumer Services, 34(1), 358-368.
Schmitt, H. B. (2003). Customer Experience Management. John Wiley & Sons.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (3rd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
Slater, S. F., & Narver, J. C. (2000). The Positive Effect of a Market Orientation on Business Profitability: a Balanced Replication. Journal of Business Research, 48(1), 69-73.
West, S. G., Finch, J. F., & Curran, P. J. (1995). Structural Equation Model with Non- Normal Variables: Problem and Remedies. Structural Equation Modeling: Concepts, Issues and Applications. Sage.
Zena, P. A., Hadisumarto, A. D. (2012). The Study of Relationships Experiential Marketing, Service Quality Consumers’ Satisfaction and Customer Loyalty. Asian Marketing Journal, 4(1), 37-46.