ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากะพงขาวบ้านอ่าวมะนาว จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
DOI: https://doi.org/10.14456/iaj.2024.5
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากะพงขาวบ้านอ่าวมะนาว จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากะพงขาวบ้านอ่าวมะนาว จังหวัดนราธิวาส จำนวน 18 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกในการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังเฉลี่ย 21,229.44 บาทต่อคน หรือ 5,703.43 บาทต่อกระชัง ต้นทุนโดยเฉลี่ย 14,041.01 บาทต่อกระชัง ประกอบด้วย ต้นทุนผันแปร 13,059.52 บาทต่อกระชัง (ร้อยละ 93.01) และต้นทุนคงที่ 981.49 บาทต่อกระชัง (ร้อยละ 6.99) โดยได้รับผลตอบแทน 17,564.63 บาทต่อกระชัง กำไรสุทธิ 3,523.62 บาทต่อกระชัง คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 20.06 และมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 18.78 ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ต้นทุนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังที่เกษตรกรคำนวณตามวิธีการดั้งเดิมมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการคำนวณต้นทุนตามหลักการบัญชี ส่งผลให้เกษตรกรรับรู้ผลตอบแทน ได้แก่ กำไรสุทธิ และอัตรากำไรสุทธิ สูงกว่าผลตอบแทนตามหลักการบัญชีเป็นจำนวนทวีคูณ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังเป็นอาชีพที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน
Article Details
References
กนกอร ยางป้อม. (2567, 1 มีนาคม). สถานการณ์สินค้าปลากะพงขาวและผลิตภัณฑ์ ปี 2566. กรมประมง.https://www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/Monthly%20report/kapong/sea%20bass%20Q4-2023.pdf
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กลุ่มเศรษฐกิจการประมง.(2564). รายงานผลการศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง จังหวัดสงขลา. https://www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/costs/.pdf
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง. (2565). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2564. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20221129 154933_1_file.pdf
ซัลมา หนุ้ยโดด และเสาวลักษณ์ จันทร์ประสิทธิ์. (2564). ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังกรณีศึกษา : ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(1), 163-176. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/ issue/view/16565
ณาตยา ศรีจันทึก และฐิติมา เอียดแก้ว. (2565). โลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจการเลี้ยงปลากะพงขาว.
https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20230620134532_1_file.pdf
ณัฐธยาน์ อ่อนแก้ว. (2565). การศึกษาแนวทางการลดต้นทุนของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณิชาภัทร บุญรัตน์, ซอฟวาน สะตอปา และตอริก หมาดจามัง. (2566). เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพง ปลานิลและปลากดเหลือง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 5 (น. 155-162). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นนทวรรณ ยมจินดา. (2564). รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงศ์พรต ฉัตราภรณ์, วชิระ บุณยเนตร, แพร กีระสุนทรพงษ์ และประภาภรณ์ เกียรติกุลวัฒนา. (2565). การบัญชีการเงินเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลภา ชีวาภิสัณห์. (2550) การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และแนวทางการจัดการการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง กรณีศึกษา ทะเลสาบสงขลาตอนนอก บริเวณพื้นที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail? Resolve_DOI=10. 14457/KU.the.2007.191
ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2566). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).
สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง. (2562, 27 มิถุนายน). แนวทางการลดต้นทุนการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว.
กรมประมง. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20190627145218_1_file.pdf
สุพะยอม นาจันทร์, ปทุมพร หิรัญสาลี, จุไรรัตน์ ทองบุญชู, วรกร ภูมิวิเศษ และลักขณา ดำชู. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”, 923-939. https://human.skr.ac.th/husoconference/conf/P28.pdf
Tookwinas, S. (1989, February). Review of grow-out techniques under tropical conditions: experience of Thailand on Seabass (Lates calcarifer) and grouper (Epinephelus malabaricus). In Advances in Tropical Aquaculture, Workshop at Tahiti, French Polynesia, 20 Feb-4 Mar 1989.