การตลาดเชิงเนื้อหาแบบดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศุภญา ดีเมฆ
พิเชษฐ์ พรหมใหม่

บทคัดย่อ

DOI: https://doi.org/10.14456/iaj.2024.1


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตลาดเชิงเนื้อหาแบบดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณ และเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือลูกค้าร้านจำหน่ายเหล็กรูปพรรณในจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า การตลาดเชิงเนื้อหาแบบดิจิทัลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณร้อยละ 26.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อพิจารณาระดับของการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณ พบว่า การตลาดเชิงเนื้อหาประเภทข้อความ หรือบทความมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือการตลาดเชิงเนื้อหาประเภทวิดีโอ และการตลาดเชิงเนื้อหาประเภทรูปภาพ หรืออินโฟกราฟิกตามลำดับสำหรับผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลนั้น พบว่าลูกค้าที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี มีการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณแตกต่างกับลูกค้าที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ลูกค้าที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนมีการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณต่างกับลูกค้าที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ยังพบว่าลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 30,000 บาท มีการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณแตกต่างกับลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณในจังหวัดสงขลา เน้นการทำการตลาดเชิงเนื้อหาแบบดิจิทัลในรูปแบบของข้อความ หรือบทความให้มากที่สุด รองลงมาคือการตลาดเชิงเนื้อหาแบบดิจิทัลประเภทแบบวิดีโอ และแบบรูปภาพหรืออินโฟกราฟิก ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษวิสิษฎ์ อัครโชตชัยวาณิช, ธนสร กิรัมย์ และสุมาลี สมนึก. (2566). ปัจจัยการตลาดเชิงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าครัวเรือนผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 9(3), 331-339. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pacific/ article/view/270969/181377

กริชเทพ รุ้งคีรีศักดิ์ และจักรพันธ์ กิตตินรรัตน์. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเอาท์ดอร์ของลูกค้าเจเนอเรชันเอ็กซ์ผ่านช่องทางออนไลน์. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 17(1), 49-75. https://so4.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/271291/183047

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์คลองชั่ง.

ณภัทรชนม์ หาวิชา และกรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2564). รูปแบบการตลาดด้านเนื้อหาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านร้านค้าออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(3), 340-354. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/

hsjournalnmc/article/view/253456/175167

ณัฏฐ์ปภัสร์ สวัสดิสรรพ์ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2566). การวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาของตราสินค้าเครื่องสำอางที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อก. วารสารนักบริหาร, 43(1), 1-23. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/265770 /173890

ณัฐณิชา อินทร์เพ็ญ. (2565). อิทธิพลของการสร้างสรรค์การตลาดเชิงเนื้อหาการสร้างคุณค่าร่วมและความผูกพันของผู้บริโภคที่มีต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าบนสังคมออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(62), 32-42. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/research journal-lru/article/view/250279/177128

นาวา จันทนสุรคน. (2566). อุตสาหกรรมเหล็กไทย" เข้าขั้นวิกฤติ เปิดเบื้องลึก "จีนทุ่มตลาด-ทุบกำลังการผลิตในประเทศ. https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2708048

นัฐวุฒิ ซอนสุข และสิญาธร นาคพิน. (2566). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าบนธุรกิจแพลตฟอร์มของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี]. http://www.ir.sru.ac.th/bitstream/123456789/1009/1/is _mba_nattawut66.pdf

ปัณณกานต์ วรวัฒนานนท์. (2563). Social Media คืออะไร? มีกี่แบบ แล้วทำไมธุรกิจถึงต้องมี?. https://noria.co.th/th/what-is-social-media-types/

ปิยะบุตร โกศลกิตติพงศ์. (2565). การศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดดิจิตอลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อโครงการจัดสรร ของกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/12345 6789/4670/1/tp%20bm.047%202565.pdf

พิเชษฐ์ พรหมใหม่. (2566). ประสิทธิผลการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจขนาดเล็กตามมุมมองของผู้บริโภค. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 115-133. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/264424/179125

ภัคณิษา อภิศุภกรกุลฬ. (2566). การใช้สื่อโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มยอดขายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(1), 33-41. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view /262786/176126

ภัทรวดี กฤตรัชตนันต์, เจษฎา นกน้อย และอรจันทร์ ศิริโชติ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ของประชาชนในจังหวัดพัทลุง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(3), 121-128. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ nakboot/article/view/207344/156629

ภูษณิษา กระต่ายทอง, ณัฐนนท์ ดวงแก้ว และหรรษมน เพ็งหมาน. (2566). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน TikTok Shop ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 13(4), 24-33. https://casjournal.cas.ac.th/admin/filedocume nts/659166101.pdf

ราช ศิริวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค. https://doctemple.wordpress.com

วิชญะ พงษ์วิทยภานุ และมณีกัญญา นากามัทสึ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ก่อสร้างซีเมนต์บอร์ดทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร. Journal of Modern Learning Development, 8(5), 16-30. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/26 0176/177206

วิชุดา จันทร์เวโรจน์, กิตติวงค์ สาสวด, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ และวรรณี นนท์ธนประกิจ (2564). องค์ประกอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับธุรกิจ: มุมมองด้านแนวคิดและทฤษฎี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(2), 13-26. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/ article/view/248724/170840

วิศนันท์ อุปรมัย และประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2565). การปรับตัวด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของร้านขนมไทย หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, วารสารรัชต์ภาคย์, 16(49), 315-330. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/266346/179348

วีรพงษ์ ศรีบุตรตา, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร และนริศรา สัจจพงษ์. (2666). ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 19-29. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1874/1431

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). E-Commerce ไทยยุคหลัง COVID-19. https://www. etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-

สุชาดา สุดจิตร. (2566). กลยุทธ์์การตลาดดิจัิทัลบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Shopee ที่ส่่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคในจัังหวัดภูเก็ต. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 36(3), 20-36. https://doi.org/10.55164/pactj.v36i3.261647

เสริมศิริ นิลดำ, กรกนก นิลดา, กิติวัฒน์ มีแก้ว, กฤษฎา ยอดเมฆาวงศ์ และพงศธร ใจมูลมั่ง. (2563). การเปิดรับข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประสบการณ์ทางการเมืองทัศนคติต่อการเมืองและความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่ม GENZ จังหวัดเชียงราย. วารสาร URU Journal of Integrated sciences for Development, 13(1), 1-13. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/grauru/article/view/259928/176714

อรรถพล ฟูไฟ และกมลทิพย์ คําใจ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้ออลูมิเนียมสำเร็จรูป Lynn ผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวรสาร, 14(2), 149-158. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/162997/117745

อนุสรา เรืองโรจน์ และอริสสา สะอาดนัก. (2563). อิทธิพลของการทำตลาดเชิงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจให้ผู้บริโภคใช้บริการแอปพลิเคชัน V. http://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS02/PDF01/1324_20 210713_12600106___Anutsara_Ruengrot.pdf

Evans, J. R., & Berman, B. (2004). Marketing. Macmillan.

Jafarova, k., & Tolon, M. (2022). The Effect of Content Marketing in Social Media on Brand Loyalty and Purchase Intention. Journal of Business Management and Economic Research, 6(4), 160-184. https://doi.org/10.29226/TR1001.2022.318

Jarvinen, J., & Taiminen, H. (2016). Harnessing marketing automation for B2B content marketing. Industrial Marketing Management, 54, 164-175. https://doi.org/10.1016/j.indmarman. 2015.07.002

Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing Management (14th). Prentice Hall, Pearson.

Liu, H.W., & Huang, H.C. (2015). Tradeoff Between Push and Pull Strategy: The Moderating Role of Brand Awareness’, in H. Spotts (eds.), Marketing, Technology and Customer Commitment in the New Economy. Developments in Marketing Science: Proceedings Of the Academy of Marketing Science. Springer, Cham (pp.259–264). https://doi.org/10.1007/978-3-319-11779-9_98

Schiffman, G. L., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behaviour (9th ed.). Pearson Education.