การพัฒนามาตรวัดความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

The Development of a Work Happiness Scale for Employees Working in the Petrochemical Industrial

Authors

  • Thirayu Inplaeng School of Sinology, Mae Fah Luang University
  • Soontaree Sukkanaphibal Faculty of Applied Art, King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • Kanokwan Arunchaiporn Faculty of Applied Art, King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • Nathanicha Thongaum Faculty of Applied Art, King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • Nicharee Junthun Faculty of Applied Art, King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • Suparat Aekkarat Faculty of Applied Art, King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • Seksin Sinprasert Faculty of Applied Art, King Mongkut's University of Technology North Bangkok

Keywords:

ความสุขในการทำงาน, คะแนนจุดตัด, คุณสมบัติจิตมิติ, โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, Work Happiness, Cutoff Score, Psychometric Properties, Petrochemical Industrial

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2) เพื่อกำหนดคะแนนจุดตัดของมาตรวัดความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 3) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตัวอย่างการวิจัยเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จำนวน 119 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยมาตรวัดความสุขในงานแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายทำการพัฒนามาตรวัดความสุขในงานโดยตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและใช้ผลการวัดกำหนดคะแนนจุดตัดโดยอาศัยคะแนนมาตรฐานแล้วรายงานผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติประกอบไปด้วย 1) ความตรงเชิงเนื้อหาวิเคราะห์จากดัชนีความสอดคล้อง 2) ค่าอำนาจจำแนก 3) ความเที่ยงตามสูตรสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค และ 4) ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สถิติที่ใช้ในการกำหนดคะแนนจุดตัดและรายงานผลการวัดความสุขในการทำงาน คือ 1) คะแนนมาตรฐาน Z-score และสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดมีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ค่าความเที่ยงอยู่ในระดับสูงและโมเดลความสุขในการทำงานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (IOC = .60-1.00, r = .217-.837, = .859, = .791, df = 2, p = .673, CFI = 1.000, AGFI = .984, TLI = 1.073, RMSEA = .000) 2) คะแนนจุดตัดของมาตรวัดมีจุดตัด 3 จุด แบ่งระดับความสุขในการทำงานออกเป็น 4 ระดับ และ 3) ความสุขในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางกับระดับมาก

Author Biography

Thirayu Inplaeng, School of Sinology, Mae Fah Luang University

พ.ศ. 2555 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา สังคมศึกษา (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ. 2559 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, พ.ศ. 2559 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประเมินผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ. 2566 คุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดประเมินผลทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2024-12-26