About the Journal

วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เผยแพร่ผลงานวิจัยทางจิตวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์ การวัดผลประเมินผลและสถิติทางการศึกษา และสังคมศาสตร์ 2) เป็นสื่อกลางการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ ของคณาจารย์ นิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันอุดมศึกษาอื่น และหน่วยงานภายนอก และ 3) ส่งเสริมการเสนอผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์ การวัดผลประเมินผลและสถิติทางการศึกษา และสังคมศาสตร์ของนักวิชาการทั่วไปในรูปแบบบทความทางวิชาการ และบทความพิเศษ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นวารสารราย 6 เดือน โดยมีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

Journal of Psychological Educational and Social Sciences Research is the official electronic journal of Department of Research and Applied Psychology, Faculty of Education, Burapha University. It is established with the following aims: 1) to disseminate research results in the fields of psychology, neuroscience, educational measurement, evaluation, and statistics as well as social sciences 2) to share academic opinions and experience amongst academic staff and students of the Faculty of Education, other institutes of Higher Education as well as outside organizations, and 3) to encourage the general scholars’ academic presentation in the field of psychology, neuroscience, educational measurement, evaluation, and statistics as well as social sciences in the form of academic articles and special articles, both Thai and English. It is published every 6 months or 2 issues per year (Issue 1: January-June and Issue 2: July-December).

ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร มี 2 ประเภท ดังนี้

1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานที่ต้องการนำเสนอผลการศึกษาและรายงานผลการวิจัยของผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนที่ได้ค้นคว้าด้วยตัวเอง เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ มีองค์ประกอบดังนี้ บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Keywords) บทนำ (Introduction) วิธีการวิจัย (Methods) ผลการวิจัย (Results) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) บทสรุป (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง (References)

2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นผลงานที่ต้องการเสนอความรู้ทั่วไปหรือแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งผ่านการทบทวนวรรณกรรม เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์หรือนำเสนอเป็นองค์ความรู้ใหม่เชิงสังเคราะห์ มีการรวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ผลงาน พร้อมมีการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้เขียนเพิ่มเติมด้วย เพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์และให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเรื่องนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน มีองค์ประกอบดังนี้ บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Keywords) บทนำ (Introduction) เนื้อหา (Content) บทสรุป (Conclusion) และเอกสารอ้างอิง (References)

กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

บทความที่ส่งมาเพื่อเผยแพร่ ต้องเป็นบทความใหม่ที่อยู่ในสาขาวิชาย่อยตามที่กำหนด โดยไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น

วารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ ตระหนักถึงมาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ โดยเฉพาะในการป้องปรามมิให้มีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น จึงขอให้ผู้ที่จะเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์ ส่งผลการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมบทความของท่านจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Turn It In , Copyleaks , CopyCatch หรือโปรแกรมอื่นที่เป็นที่ยอมรับ แนบส่งมาพร้อมกับบทความที่นำเสนอด้วย โดยทางวารสารจะนำผลการตรวจสอบไปกับบทความประกอบการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ

วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double Blind Peer-Reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มข้นในการประเมินคุณภาพบทความก่อนออกตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับลิงค์วารสารที่นำบทความลงตีพิมพ์ผลงานแล้ว พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคมศาสตร์

การเตรียมบทความ

ผู้นิพนธ์สามารถ Download เอกสาร เพื่อจัดเตรียมบทความวิจัยและบทความวิชาการจาก Link ดังต่อไปนี้ : https://drive.google.com/drive/folders/1x7SMfHfo4m6stWHEpKQUlKayMVS3MDNb?usp=drive_link