เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างเมืองตรัง เพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความคิดเห็นต่อการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว 2) ประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง และ 3) สร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง เป็นการวิจัยแบบผสม งานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 2) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง พบว่า มีศักยภาพการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ศักยภาพการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว และศักยภาพการรองรับด้านการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 3) การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรดกอาหารหมูย่างตรัง ได้นำสถานที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงเป็นเส้นทางท่องเที่ยว “มนต์เสน่ห์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำนานหมูย่างเมืองตรัง” มีลักษณะการจัดเส้นทางแบบทางเดียว ประกอบด้วย ร้านอาหารเช้าแบบติ่มซำ ชุมชนท่าจีน ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย อาคารสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ชุมชนวิสาหกิจผ้าทอนาหมื่นศรี ชุมชนหมูย่างป่ายาง บ้านตระกูลคีรีรัตน์ โรงงานเตาย่างหมู โดยมีการประเมินความเหมาะสมของเส้นทางท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2549). ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หมูย่างเมืองตรัง. นนทบุรี: กระทรวงพาณิชย์.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ข่าวกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว. สืบค้น 2563, ตุลาคม 9, จาก https://www.tat.0r.th/th/news.
กันยาวี หัวเขา. (2563). ประธานชมรมหมูย่างตรัง. สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563.
ทิพวัลย์ รามรง และชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2564). ศักยภาพอาหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่าน
อาหารท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดตรัง เมืองคนช่างกิน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร,. 47(2), 59-74.
พรรณี สวนเพลง และคณะ. (2559). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ปรัชญา นวนแก้ว, ณัฐวุฒิ พรหมเทียน, ณัชพล ปานงาม และวันชัย เหมืองหม้อ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,. 5(1), 95-103.
วิมลรัตน์ บุญศรีรัตน์. (2560). แนวทางการจัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะการจัดการท่องเที่ยว, สาขาการจัดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ.
สริตา พันธ์เทียน. (2560). การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย: แนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจัดการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2).
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2565). Soft Power อำนาจแห่งความสร้างสรรค์เพื่อสรรค์
สร้างเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 2567, ตุลาคม 20, จาก https://www.businesseventsthailand.com/th/press-media/news-press-release/detail/1461-soft-power-the-power-of-creativity-to-build-the-thai-economy
เสกสรรค์ สนวา, สุพัฒนา ศรีบุตรดี, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ และนภัสภรณ์ ภูวตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2563).
การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 259-276.
อัญชลี สมใจ และพันธุ์รวี ณ ลำพูน. (2563). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 15(2), 13-27.
Abdelhamied, H. (2011). Customers' perceptions of floating restaurants in Egypt,
Anatolia. 22:01, 1-15.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Sydney: Hodder Education.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Roscoe, J.T. 1975. Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New York: Holt, Rinehart and Winston.
World Tourism Organization. (2012). Global report on food tourism. Marid: The World
Tourism Organization.