ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านท่องเที่ยวโดยชุมชนโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การจัดเวทีระดมความคิดเห็น การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำองค์กรท้องถิ่น สมาชิกองค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนพรรณนาโวหาร ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวชุมชนโคกม่วง มี 3 ด้าน คือ 1.1) ด้านประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่น่าสนใจ 1.2) ด้านกลุ่มองค์กรในชุมชน มี 2 ประเภท คือ กลุ่มองค์กรที่มีเกณฑ์มาตรฐานรองรับ และองค์กรที่เตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนา และ 1.3) ด้านแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิถีชีวิตในชุมชน และภูมิปัญญาอาหารเด่นของชุมชน 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านท่องเที่ยวชุมชน มีแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 2.1) การพัฒนาศักยภาพด้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2.2) การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2.3) การยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในชุมชน เพราะศักยภาพที่สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและสร้างรายได้ความอยู่ดีกินดีให้แก่ชุมชนได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
เอกสารอ้างอิง
กองการศึกษา เทศบาลตำบลโคกม่วง. เอกสารประวัติศาสตร์ตำบลโคกม่วง. กองการศึกษา เทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. (มปป.)
กองทุนเพื่อสังคม, สำนักงาน. (2543). แผนชุมชนพึ่งตนเอง. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่.
เจนตา แก้วไฝ, วุฒิชัย คงยัง และมัสวิณี สาและ. (2556). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมในอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์ และคนอื่น ๆ. ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) : มหาวิทยาลัยพะเยา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2541). ชุมชนเข้มแข็งทุนทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.
ประเวศ วะสี. (2541). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
ข้อมูลการสัมภาษณ์
นายรัฐพล ประพรม. อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโคกม่วง. วันที่ 21 มกราคม 2567.
นายสมัคร สุวรรณสาม. ศูนย์การเรียนรู้สวนปลักคล้า ตำบลโคกม่วง. วันที่ 21 มกราคม 2567.
นายประวิทย์ อนุชาญ. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนแต่แรกสวนปลักหว้าตำบลโคกม่วง. วันที่ 21 มกราคม 2567.
นางณัฐธัญวดี คงชนะ. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงตายายตำบลโคกม่วง. วันที่ 22 มกราคม 2567.
นายปานเทพ สุวรรณมาลา. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงแปลงใหญ่ตำบลโคกม่วง. วันที่ 22 มกราคม 2567.