ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Main Article Content

Rawiwan Poungsorn
Karnjanapat Klabtublang

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจ                     ร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 2) ประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของผู้ประกอบการที่มีต่อลูกค้าที่มาใช้บริการร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา ที่ส่งผลต่อการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา และ 3) เสนอแนวทางการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการวิจัยแบบผสม โดยงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านกาแฟสดในจังหวัดสงขลา จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์กับผู้ประกอบการหรือผู้จัดการร้านกาแฟสดจำนวน 127 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ มีคุณภาพการจัดการด้านปัจจัยการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านปัจจัยการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ 2) ความพึงพอใจในการให้บริการ อยู่ในระดับมาก โดยลูกค้ามีความพึงพอใจต่อการที่ผู้ประกอบการร้านมีนโยบายให้ลูกค้างดสูบบุหรี่ หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศ ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านระบบ e-payment หรือ หากชำระด้วยเงินสดมีถาดรับเงินหรือสวมถุงมือ กำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้ถูกต้องตลอดเวลาสำหรับผู้ปฏิบัติงาน พื้นที่ให้บริการต้องเป็นลักษณะโล่งและระบายอากาศ มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น และ 3) สำหรับแนวทางการปฏิบัติสำหรับธุรกิจร้านกาแฟสด หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ มาตรการคัดกรองอาการป่วย มาตรการในการป้องกันโรค และมาตรการการทำความสะอาด

Article Details

How to Cite
Poungsorn, R., & Klabtublang, K. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟสด จังหวัดสงขลา หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). Chor Dok Peeb Review, 1(1), 61–73. retrieved from https://so18.tci-thaijo.org/index.php/chorparitas/article/view/769
Section
Research article

References

ปัญญา พละศักดิ์. (2564). รูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมือง

จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม –

สิงหาคม 2564, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

พิพัฒน์ ก้องกิจกุล. (2546). คู่มือปฏิบัติวิธีวัดความพึงพอใจของลูกค้า. กรุงเทพฯ : บีไบร์ทบุ๊คส์

ยุพพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ศศินา สิมพงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารวิจัย

สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564.

อิทธิ เหล่าชูชีพ. (2561). คุณภาพการบริการของพนักงาน พื้นที่ให้บริการและทำเลที่ตั้งส่งผลต่อความตั้งใจเข้าใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Cochran, W.G. (1977). A Model of Statistics.Boston: McGraw – Hill.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research.

Journal of Marketing, 49, 41 -50

Spector, P.E. (1987). Industries and organizational psychology research and practice. (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.