ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 กับการดำเนินงานในองค์กร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, สัปปุริสธรรม 7บทคัดย่อ
ผู้นำในองค์กรต่าง ๆ ควรต้องศึกษาหลักการเป็นผู้นำที่ดีทั้งทางโลกและทางธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้มีลักษณะการเป็นผู้นำที่ดีคือบุคลิกภาพที่ดี มีรูปลักษณ์ที่ดี และเป็นผู้ที่ฉลาดในหลักการสามารถวางแผนงานต่าง ๆ ได้อย่างดี เพื่อให้ทันต่อโลกและยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร คุณลักษณะการเป็นผู้นำที่ดีควรมีติดตัวไว้ เพื่อเป็นแนวทางและหลักการปฏิบัติเพื่อเป็นตัวแบบอย่างที่ดีสำหรับคนในองค์กร และเมื่อผู้นำมีการบังคับบัญชาคนที่ดี จะส่งผลให้กิจกรรมหรืองานขององค์กรที่ตนนั้นปฏิบัติ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางแผนไว้ โดยการบริหารจัดการคนที่ดีพึงรู้ว่า ใครสามารถทำอะไร มีศักยภาพเช่นไร เพื่อเป็นการเข้าถึงจิตใจของแต่ละคน เพื่อการปฏิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่สูงสุด ให้งานที่องค์กรของตนปฏิบัติไม่มีความบกพร่องหรือบกพร่องน้อยที่สุด สำหรับในองค์กรต่าง ๆ การที่หัวหน้าหรือผู้นำองค์กรมี “ภาวะผู้นำ” เป็นสิ่งที่สมควรศึกษาเพื่อที่จะสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง มีรูปลักษณ์ที่ดี ลักษณะของการทำงานเป็นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อเป็นการพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น และถ้าหากผู้นำองค์กรได้บูรณาการการหลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ เข้ามาในการบริหารองค์กรจะทำให้องค์กรนั้นมีคุณภาพมากขึ้นทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และปราศจากการทุจริต มีความโปร่งใสภายในองค์กรอีกด้วย
References
กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2544). หลักและระบบบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2544). พัฒนาบุคลิกผู้นำและนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุขภาพ.
นางอัมพร วงศ์โสภา. (2555). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาความคิดเห็นของประชาชน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เนตรพัฌฌา ยาวิราช. (2546). ภาวะผู้นำและผู้นำ และผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัท เซ็นทรัลฟเวอร์เพรสจำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2546). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก 2500. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน).(2536). ธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายี). (2509). สัปปุริสธรรม. กรุงเทพฯ: หนังสืออนุสรณ์ เนื่องในโอกาสงานฌาปนกิจศพ นายชัย.
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ และคณะ. (2567). บริหารด้วยสัปปุริสธรรม. สืบค้น 10เมษายน 2567,จากhttp://www.budmgt.com-budman/bm๐๑/goodman.html
สามารถ อานนฺโท. (2548). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.
อุทัย หิรัญโต. (2520). ศิลปะศาสตร์ของนักบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2530). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองการการพิมพ์.