แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนฝางพิทยาคม ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระอธิการวัณณุวรรธน์ เวปุลฺโล (ชัยรัตน์)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนฝางพิทยาคม ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนฝางพิทยาคม ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกระบวนการกิจกรรมกลุ่มช่วยแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องเนื้อหาทางด้านจริยธรรม ซึ่งค่อนข้างเป็นนามธรรมให้เป็นการเรียนรู้ที่น่าสนใจโดยสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่มีการที่มีการเคลื่อนไหว มุ่งเน้นให้กล้าแสดงออกทางความคิดของผู้เรียน และเนื้อหาควบคู่กันไปการจัดกระบวนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ และการปฏิสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการใช้กิจกรรมและสื่อการสอนบางประการ เช่น สถานการณ์จำลอง การแสดงบทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ทางด้านจริยธรรมเป็นรูปธรรมน่าสนใจขึ้นสอดคล้องกับวัยพัฒนาตนระดับวุฒิภาวะ และความต้องการของนักเรียน หลักอิทธิบาท 4 ว่าด้วยการครองตน ครองคนและครองงาน เป็นคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย

Article Details

How to Cite
เวปุลฺโล (ชัยรัตน์) พ. (2024). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนฝางพิทยาคม ตำบลบ้านฝาง อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 1(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/62
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 16-21.

ทิศนา แขมมณี. (2549). ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน เรื่องยากที่ทำได้จริง. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

ประเวศ วะสี. (2544). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาและการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ปราณี เกื้อทอง. (2545). บทบาทของพระสงฆ์ในงานพัฒนาชุมชน ศึกษากรณีวัดในอำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พระธรรมปิฎก. (2546). พุทธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมชาย เทพแสง. (2544). การปฏิรูปการศึกษาคือการปฏิรูปจิตและวิญญาณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.