พุทธจิตวิทยากับภาวะผู้นำในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันเป็นไปด้วยสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเศษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และโรคภัย ล้วนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในปัจจุบันอย่างมาก เช่น โซเชียลมีเดียที่เข้ามามีอิทธิต่อชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นจนถึงเข้านอน การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นภาวะผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญ สร้างความพร้อมและความเชื่อมั่นใหม่ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารความสำเร็จ คือ ผลผลิตของการตัดสินใจลงมือทำ เกิดจากองค์ประกอบหลักได้แก่เป้าหมาย ความเชื่อ ทัศนคติ ความเข้าใจและการตัดใจลงมือทำซึ่งเป็นคุณลักษณะของภาวะผู้นำ (Leader ship) ในยุคของ BANI และส่วนหนึ่งมาจากจิตที่หมุนตามการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนทำให้เกิดความทุกข์ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญมากในการบริหารจัดการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้นำในยุคปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผู้เขียนได้นำเสนอหลักธรรมของพุทธจิตวิทยาภาวะผู้นำในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารเกิดความสำเร็จ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย. (2563). พุทธจิตวิทยาสำหรับคนชายขอบ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 3- 4.
พระโฆษิต โฆสิตธมฺโม. (2565). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อการบริหารองค์กรสู่ความสำเร็จ. วารสารธรรมวัตร, 3(1), 6 – 7.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2567, จาก https://medinfo.psu.ac.th/
วิไล ถาวรสุวรรณ, เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ และ สุวัฒสัน รักขันโท. (2565). คุณลักษณะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามแนวพุทธจิตวิทยาในองค์กรธุรกิจเครือข่าย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์,8(2), 8 - 9.
อำนาจ มลสิน. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการขององค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนตร์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.