การประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระชัยมงคล โชติโก (ไซมะเริง)
พระครูพิศาลสารบัณฑิต
พระครูจิรธรรมธัช

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิจัยสรุปได้ว่าหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ สภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ประชาชนทั้งหมดเป็นชาวพุทธ ประชาชนส่วนมากเป็นเกษตรกร รองลงมาเป็นข้าราชการ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ประเพณีฮีด 12 เป็นประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน ทุก ๆ วันพระ 15 ค่ำ กลุ่มชาวบ้านก็จะเข้าวัดเพื่อการทำบุญ ฟังธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรม และรักษาศีล


การประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานีเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ในชุมชน ทุกๆ วันพระ 15 ค่ำ เพื่อสร้างวัดเป็นแหล่งเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักอริยมรรคมีองค์ 8 สู่การเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่ให้เกิดปัญญา อยู่ในกรอบของ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา สู่การดำเนินชีวิตทางสายกลางอย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
โชติโก (ไซมะเริง) พ., พระครูพิศาลสารบัณฑิต, & พระครูจิรธรรมธัช. (2024). การประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลนาทราย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 3(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/68
บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2552). อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน.

พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). (2547). พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของพระเทพวรคุณ (สมานสุเมโธ) (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2552). พุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แสง จันทร์งาม. (2552). อริยสัจจ์ 4 (หัวใจของพระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: เจริญกิจ.