การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาหลักพรหมวิหาร 4 และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาแนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู ของครูโรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของโรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนามจากการศึกษาแล้วนำผลการศึกษามาวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังนี้ หลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย อุเบกขา คือการรู้จักวางเฉย กรุณา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มุทิตา คือความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี เมตตา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ และจรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครูมีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ 3 ประการ คือ 1. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ 2. รักษามาตรฐานวิชาชีพ และ 3. พัฒนาวิชาชีพแนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู ของครูโรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 5 ด้านคือ 1. จรรยาบรรณต่อตนเอง 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ และ 5. จรรยาบรรณต่อสังคม
แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของโรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี เป็นการบูรณาการหลักพรมวิหาร 4 เข้ากับหลักจรรยบรรณวิชาชีพครู 5 ด้าน โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมครู และการนำพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนโดยบูราณาการเรียนในแต่ละรายวิชาให้มีเนื้อหาของหลักธรรมเข้าสอดแทรกเพื่อเป็นการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาระหว่างครูที่จะเป็นการพัฒนาหลักพรหมวิหาร 4 เข้ากับจรรยาบรรวิชาชีพครู และนักเรียนได้รับองค์ความรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธงชัย สันติวงษ์. (2545). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆษาจารย์. (2547). คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับ 100 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2534). คุณธรรมสาหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ พุทธ ธรรม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปนระเทศไทย (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงาน. (2551). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) : ฉบับสรุป. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2543). รวมธรรมะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2540). แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2535). สมบัติทิพย์ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.