ตัวตนในมุมมองปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นความพยายามที่จะเข้าใจตัวตนในมุมมองปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออก โดยมุ่งชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างทางสังคม แนวคิดของนักปรัชญา ได้มีอิทธิพลต่อการมองตัวตนในปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาออกให้มีความแตกต่างกันอย่างไร จากการศึกษาพบว่า ปรัชญาตะวันตกให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผลและตระหนักถึงเสรีภาพของมนุษย์ ทำให้ปรัชญาตะวันตกมองตัวตนเอกเทศ (Autonomous Self) ที่มีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคลที่อยู่แยกจากบุคคลอื่น ขณะที่ปรัชญาตะวันออกให้ความสำคัญกับมนุษย์และวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพื่อต้องการให้ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข ปรัชญาตะวันออกจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพของปัจเจกบุคคล แต่มองตัวตนสัมพันธ์ (Relational Self) ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). (2544). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: ศยาม.
ฟื้น ดอกบัว. (2542). ปวงปรัชญาจีน. กรุงเทพฯ: ศยาม.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548). อารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 11-15. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). อารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวรรณ สถาอานันท์. แปลและเรียบเรียง. (2551). หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2543). กระสารธารปรัชญาจีน : ข้อโต้แย้งเรื่อง ธรรมชาติ อำนาจ และจารีต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kupperman, J.J. (1999). Learning from Asian Philosophy. Oxford: Oxford University Press.
Nisbett, R.E. (2003). The Geography of Though. New York: The Free Press.