การพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต ตามหลักวุฑฒิธรรม

Main Article Content

พระอาคม อคฺคจกฺโก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต 2) เพี่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตตามหลักวุฑฒิธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากผู้มาปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมระยอง (บ้านช่องลม) จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตของผู้มาปฏิบัติธรรม แยกตามเป้าหมายของชีวิตดังนี้ ด้านประโยชน์ในปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ด้านประโยชน์ในโลกหน้าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพานอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต ดังนี้ มีการแสวงหาต้นแหล่งความรู้ การศึกษาหาความรู้ การพิจารณาข้อมูลให้เหมาะสม และการลงมือปฏิบัติ นำข้อมูลที่ได้นี้มาวิเคราะห์กับ หลักวุฑฒิธรรม ได้แนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตเรียกว่าแนวทาง 4G ประกอบด้วย 1) Good source of knowledge มีแหล่งความรู้ที่ดี 2) Good learning การเรียนรู้ที่ดี 3) Good concider and plan พิจารณาและวางแผนที่ดี 4) Good follow a plan ทำตามแผนให้ดี

Article Details

How to Cite
อคฺคจกฺโก พ. (2023). การพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต ตามหลักวุฑฒิธรรม. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 2(1), 16–24. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/12
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เกศรา สว่างวงศ์. (2556). ความสุขผ่านมุมมองของพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์ลำปาง, 2(2), 1-6.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2550). โพธิปักขิยธรรมประยุกต์. กรุงเทพฯ: ตถาคตาพับลิเคชั่น.

สุภีร์ ทุมทอง. (2557). อริยมรรคมีองค์ 8 ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

โสภณ ขำทัพ. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทวิถีชีวิตแบบพุทธตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.