จิตสำนึกและการสร้างจิตสำนึกเพื่อการตอบแทนบุญคุณบิดามารดา
Main Article Content
บทคัดย่อ
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมอิงกับความดี ความชั่ว ทั้งนี้เพราะถูกหล่อหลอมมาจากคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระสงฆ์ เพราะประเทศไทยของเราเป็นเมืองพุทธ ที่มีคนไทยโอบอ้อมอารีย์ มีน้ำใจ แม้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทย นักท่องเที่ยวทั้งหลายต่างชื่นชอบคนไทย ประทับใจจากรอยยิ้มที่เป็นมิตร เรียกกันว่า “ยิ้มสยาม” คนไทยในสมัยก่อนเป็นสังคมที่มีความเป็นกันเอง
ใครมาถึงเรือนชานจะเรียกกินข้าวกินปลา ส่วนนอกเรือนชาน หรือระเบียงบ้าน จะมีการตั้งหม้อน้ำไว้ให้คนที่เดินผ่านไปมา ได้แวะดื่มกินแก้ความกระหายหรือเหนื่อยล้า
ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองอาคารบ้านไม้ทรงเรือนไทย ทรงปั้นหยาหายไปจากชุมชน อาคารเปลี่ยนสภาพเป็นตึกทรงตะวันตก หรือทรงยุโรป ถนนหนทางเต็มไปด้วยคอนกรีต ถนนลูกรังมีให้เห็นน้อยมาก บางท้องถิ่นไม่เห็นร่องรอยของความล้าหลังเลย ครอบครัวคนไทยในอดีตอยู่กันเป็นครอบครัวขยาย ญาติ
พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย จะอยู่ในระแวกเดียวกัน ทุกคนจะรู้จักกันหมดว่าใครเป็น ใคร ลูกบ้านไหน พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ชื่ออะไรบ้างอยู่ที่ไหน มีอาชีพทำอะไร เด็ก ๆ กับผู้ใหญ่ในชุมชน จะคุ้นเคยกันอย่างดี การศึกษาของเด็ก ๆ ก็จะมีคุณครู ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนในท้องถิ่น ทำให้คุณครูสอนเด็กด้วยความสบายใจ และเต็มใจสอนให้การอบรมสั่งสอน หากเด็กทำผิดคุณครูก็จะทำโทษ เมื่อเด็กมาฟ้องพ่อแม่ว่าถูกคุณครูทำโทษ แทนที่พ่อแม่จะไปกล่าวโทษคุณครู ตรงกันข้ามกลับอนุญาตให้คุณครูลงโทษ เพราะพ่อแม่ทุกคนในชุมชนก็รู้ว่าคุณครูรักและเมตตาเด็ก ต้องการให้เด็กมีความรู้ ขยัน ตั้งใจเล่าเรียนหนังสือ เด็กในสมัยก่อนจึงถูกเพาะบ่มทางด้านพฤติกรรมจากโรงเรียนอีกระดับหนึ่ง
สรุปว่าการกล่อมเกลาเด็ก ๆ ในสังคมสมัยก่อน นอกจากจะมีพ่อแม่ (จากทางบ้าน)พระสงฆ์ (ทางวัด) และคุณครู (ทางโรงเรียน) เด็ก ๆ จึงมีทั้งศีลธรรม คุณธรรมครองปกป้องเขาให้ห่างไกลจากความชั่วทั้งหลายทั้งปวง การศึกษาในอดีตเป็นห่วง 3 ห่วงคล้องกัน ช่วยดูแลเด็ก ๆ ให้เป็นคนดีของสังคมได้ด้วย บวร = บ้าน-วัด-โรงเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2547). พระพุทธศาสนากับความตาย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2529). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.