ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตของสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตของสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีองในการดำเนินชีวิตของสังคมไทย พบว่า การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการปฏิบัติตนตามทางสายกลางของพระพุทธศาสนา ดำเนินชีวิตอย่างมีปัญญา รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ ไม่หลงใหลไปกับระบบบริโภคนิยมที่ถูกสร้างขึ้นตามกลไกเศรษฐกิจกระแสหลัก สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจริยธรรม คุณธรรมให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน แสวงหาความรู้ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพของตน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้มีความหลากหลายในชีวภาพ ก่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติเพื่อสร้างบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อกันและกัน เหมาะแก่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขแบบยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2549). การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จรวยพร ธรณินทร์. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคนและหนทางข้างหน้า. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.charuaypontorranin.com/index.php
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง: ความพอเพียงมวลรวมในประเทศ. กรุงเทพฯ:
ดวงกมลสมัย.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2550). การใช้ตัวชี้วัดเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงโดยเปรียบเทียบกับพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2554). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.geosocial.mju.ac.th/ modules.php
สุจิรา จรัลชวนะเพท. (2549). ทัศนะและความต้องการของนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะต่อการปรับพฤติกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.