การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแด ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลแหล่งเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแดจากชาวบ้านในพื้นที่่จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อออกแบบพัฒนา และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแด โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้าน กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้าน การวิเคราะห์ ความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น ระบบฐานข้อมูลสมุนไพร การค้นหาข้อมูล การแสดงผลแบบหลายมิติ ข้อความ ภาพ และเสียง รวมถึงระบบความปลอดภัยและการปรับแต่งโปรไฟล์ผู้ใช้ ผลการประเมินประสิทธิภาพ และความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันพบว่า ด้านความต้องการของผู้ใช้ มีคะแนนเฉลี่ย 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลสมุนไพรที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ ด้านการทำงานของฟังก์ชัน มีคะแนนเฉลี่ย 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 โดยมีประสิทธิภาพในการประมวลผลและการแสดงข้อมูลอย่างรวดเร็ว ด้านความง่ายในการใช้งาน มีคะแนนเฉลี่ย 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 โดยเฉพาะความชัดเจนของเมนูและการจัดวางฟังก์ชัน ด้านความปลอดภัย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดที่ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 โดยเน้นระบบล็อกอินและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล งานวิจัยนี้คาดหวังว่าจะเป็นช่องทางสำคัญในการอนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้านของโต๊ะบีแด กลุ่มงานการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสามารถต่อยอดไปสู่การส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง
Article Details
References
เบญญาภา ธิติมาพงษ์ และนัจญวา นิยมเดชา. (2566). ประสบการณ์การดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ของสตรี
วัยรุ่นมุสลิม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://kb.psu.ac. th/psukb/bitstream/2016/19324/1/60104 20062.pdf
เปรมสิรี ศักดิ์สูง. (2558). วิถีโต๊ะบีแด : การดำรงภูมิปัญญาพื้นบ้านสืบสานวัฒนธรรมชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 13(1), 31-53.
พงศุลี จีระวัฒนารักษ์. (2566, 29 สิงหาคม). ชี้เป้าภาระโรค ลดความเสี่ยงการตายและภาระโรคของแม่ เวทีสัมมนาออนไลน์ “ชี้เป้าภาระโรค: ลดเสี่ยง เตรียมพร้อมเพื่อลูกรัก”. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ ระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข. https://www.thaihealth.or.th/
พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, ทัศนันท์ จันทร์ และสุรีพร บุญอ้วน. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร ไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(23), 81-92. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/241313/164229
มธุรส ผ่านเมือง และชนนิกานต์ รอดมรณ์. (2566). การจำแนกภาพใบสมุนไพรด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเชิงลึก. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 15(22), 51-65. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jstnsru/article/view/248311/169840
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2567, 17 พฤศจิกายน). ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน ระดับเขตสุขภาพ. กระทรวงสาธารณะสุข. https://dashboard.anamai. moph.go.th/dashboard/labor1519n
สุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ และประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย. (2565). การประยุกต์ใช้ User Interface (UI) และ UserExperience (UX) ในการออกแบบแพลตฟอร์ม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิอร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(2), 63-77. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article /download/255087/173950/1001131
สุชาดา สุรางค์กุล, ปารมี ลางคุลานนท์ และศาสตรา มุลวิไล. (2566). การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์. Asian Journal of Traditional and Innovative Arts and Textiles, 2(1), 41-55. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/TIAT/article/view/263533article /download/255087/173950/1001131
สุชานันท์ แก้วกัลยา และธนากร อุยพานิชย์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมความงาม. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่19 มกราคม 2562 (น.1772-1781). https://hs.ssru.ac.th/useruploads/files /20190306/a547df7e67b06f3f6cee2eacfe46113855dbc1e0.pdf
อดิศร ศักดิ์สูง และเปรมสิรี ชวนไชยสิทธิ์. (2561). วิถีโต๊ะบีแด: การดำรงภูมิปัญญาพื้นบ้านสืบสานวัฒนธรรมชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 13(1), 31-53. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/153857/112013
แวอับดุลกอเดร์ เจะอุบง. (2555). องค์ความรู้ภูมิปัญญาโต๊ะบีแดอำเภอยะรัง: โรงพยาบาลยะรังและเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. โรงพิมพ์มิตรภาพ. https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents
/ngkhkhwaamruuphuumipayyaaotabiiaed_amephy arang.pdf
Kumara, V. G. A. P., Nipuna, M. N., Fernando, T. G., Arachchillage, U. S. S. S., Abeywardhana, S. D., & Chamara, D. (2023). Smart Hela Wedakama Application to Guide Patients and Apprentice Native Physicians. International Conference on Innovative Computing, Intelligent Communication and Smart Electrical Systems (ICSES) (pp. 1-7). https://doi .org/10.1109/ICSES60034.2023.10465385
Syaifudin, Y. W., Yapenrui, D. D., Funabiki, N., Siradjuddin, I., & Chasanah, H. N. (2024). Implementation of Self-Learning Topic for Developing Interactive Mobile Application in Flutter Programming Learning Assistance System. In 2024 ASU International Conference in Emerging Technologies for Sustainability and Intelligent Systems(ICETSIS) (pp. 1103-1107). https ://doi.org/10.1109/ICETSIS61505.2024 .104594 32