การเรียนรู้ภาษามลายู: โลกยุคดิจิทัลโอกาสและการปรับตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอนภาษามลายู 2) โอกาสและความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอนภาษามลายู และ 3) แนวทาง การปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนภาษามลายูในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษามลายู จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาภาษามลายู มีประสบการณ์การสอนภาษามลายูไม่น้อยกว่า 7 ปี และมีผลงานวิชาการหรืองานวิจัยด้านการสอนภาษามลายู และ 2) ผู้สอนภาษามลายูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 5 คน ซึ่งมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 5 ปี มีประสบการณ์และมีผลงานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอนภาษามลายูแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ และด้านการพัฒนาทักษะทางภาษาผ่านเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย เช่น แอปพลิเคชัน AI และสื่อสังคมออนไลน์ 2) โอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ การขยายฐานผู้เรียน การลดข้อจำกัดในการเข้าถึงการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้สอนและผู้เรียน ส่วนความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ การรักษามาตรฐานภาษา การพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูผู้สอน และการสร้างวัฒนธรรมการใช้ภาษามลายูที่ถูกต้อง และ 3) แนวทางการปรับตัวประกอบด้วย การพัฒนาผู้สอนทั้งด้านทักษะดิจิทัลและการสร้างเครือข่ายวิชาชีพ และการยกระดับการเรียนการสอนผ่านการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล กับการอนุรักษ์คุณค่าทางภาษาและวัฒนธรรม การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษามลายูให้สอดคล้องกับบริบทดิจิทัล และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาการศึกษาภาษามลายูในอนาคต
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2567, 13 พฤศจิกายน). นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 - 2569. ราชกิจจานุเบกษา, 141(พิเศษ 309ง), 11-13.
กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2566). โลกดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงการศึกษาและเทคโนโลยีแห่งอนาคต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/dowload_digital _file/422861/168660
บุญเลี้ยง ทุมทอง และประทวน วันนิจ. (2565). การศึกษาในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล (Digital Disruption) และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาไทย. สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 28(3), 1-13.
อนุชิต ตู้มณีจินดา. (2565). พหุพลวัตภาษาอังกฤษโลก:โอกาสและความท้าทาย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 412-437.
Amir, R. M. (2024). Gunakan media sosial memartabat Bahasa Melayu (การใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการยกระดับภาษามลายู). https://berita.rtm.gov.my/laporan-khas/kolumnis/senarai-berita-kolumnis/senarai-artikel/gunakan-media-sosial-memartabat-bahasa-melayu.
Che Noh, C. H., Ismail, I., Mustaffa, C. S. & Ibrahim, M. (2017). The Development of Digital Society Concept in Malaysia: An analysis of challenges and implications. Man in India, (97). 11-21.
Creswell, J. W. (2002). Educational Research. Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. Pearson Education.
Kementerian Pendidikan Malaysia. (2021). Dasar pendidikan digital. (นโยบายการศึกษาดิจิทัล). https://www.moe.gov.my/storage/ files/shares/Dasar/Dasar%20Pendidikan %20Digital/Dasar%20Pendidikan%20Digital.pdf.
Lubis, M., Embi, M., Wekke, I., Ghani, K., & Sulaiman, S. (2010). Information and communication technology application on learning Bahasa Melayu among foreign students. https://www.researchgate.net/publication/228371558_Information_and_communication_ technology_application_on_learning_Bahasa_Melayu_among_foreign_students.
Mansor, N. R., Syed Azmy, S., Syed, M., & Yusoff, S. (2018). Malay as the Language of Advanced Knowledge: Scientific Review in National Academia Scholarship. International Journal of Asian Social Science. https://doi.org/10.18488/journal.137.2019.32.111.119.
Maswan, N., Samat, S., & Mohd Nasir, N. F. (2023). The Challenges to Learn Malay Language Among Foreign University Students Through Online Learning. International Journal of Humanities, Philosophy and Language, 6, 10-18. 10.35631/IJHPL.624002.
Mittelman, J. H. (2004). What is Critical Globalization Studies?. International Studies Perspectives, 5(3), 219–230. http://www.jstor.org/stable/44218323.
Nurul Akhmal, M. Z., Haslinda H., Azniah I., & Juraini, J. (2018). Effect of using virtual learning environment in teaching and learning Malay language. The International Journal of Multimedia & Its Applications, 10(6), 14-29.
Salmah, J. N. M. (2023). Teknologi AI dalam pembelajaran bahasa Melayu. (เทคโนโลยี AI ในการเรียนรู้ภาษามลายู). Dewan Bahasa dan Pustaka. https://dewanbahasa.jendeladbp. my/2023/12/01/11191/
Sariyan, A. (2010). Pemartabatan bahasa kebangsaan dalam pembinaan negara bangsa. (การยกระดับภาษาแห่งชาติในการสร้างชาติ). [Language Lecture organized by Dewan Bahasa dan Pustaka Eastern Region and IPG Tengku Ampuan Afzan]. Kuala Lipis, Pahang.