วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

Ramkhamhaeng University Journal: Faculty of Education (Humanities and Social Sciences)

 

ISSN

[เดิม] ISSN 2673-0138 (Print), ISSN 2697-3758 (Online)

[ใหม่] ISSN 3027-7795 (Print), ISSN 3027-7809 (Online)

 

ความเป็นมาและนโยบายของวารสาร

วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) เป็นหนึ่งในโครงการจัดทำวารสารของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการยกระดับคุณภาพของผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมและสาธารณะ อันนำไปสู่ประโยชน์ทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถนำมาใช้เป็นเอกสารในการค้นคว้าและอ้างอิงทางวิชาการได้ ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภายนอกอื่นๆ อีกด้วย

 

วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และเผยแพร่วารสารฉบับแรก (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) เมื่อเดือนมกราคม-มิถุนายน 2562 โดย ณ ขณะนั้น มีนโยบายให้ทุกบทความได้รับการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ใช้วิธีการประเมินแบบ Double-blind peer review ต่อมา ในปี พ.ศ. 2564 ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของวารสารฯ ให้เพิ่มจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพบทความ ที่มาจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ด้วยวิธีการประเมินแบบ Double-blind peer review ซึ่งนโยบายใหม่นี้ ช่วยยกระดับคุณภาพของวารสารให้เป็นวารสารที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากวงการวิชาการ เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของวารสาร

  1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ และเผยแพร่ต่อสังคมและสาธารณะ
  2. เพื่อยกระดับความรู้ด้านวิชาการและการวิจัยของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจ รวมถึง เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

 

ขอบเขตของวารสาร

สาขาหลักของวารสาร: Social Sciences

สาขาย่อยของวารสาร: Education, Humanities, Social Sciences

ครอบคลุมสาระสำคัญ อาทิเช่น

สาขาศึกษาศาสตร์ เช่น

  • Education
  • Education Policy and Leadership
  • Educating the educators
  • Teacher Evaluation
  • Course Management Systems
  • Web-based tools for education
  • Learning / Teaching Methodologies and Assessment
  • Curriculum, Research and Development
  • Counselor Education
  • Collaborative & Interactive Learning
  • Tools for 21st Century learning
  • Educational Measurement and Evaluation
  • Student Selection Criteria in Interdisciplinary Studies
  • Technology Support for Learning
  • Multimedia in Education
  • Physical Education/ Health Education
  • Adult Education/ Life-Long Education
  • Vocational Education
  • Special Education
  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาศึกษาศาสตร์

สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น

  • Psychology
  • Social work
  • Geography
  • Home Science
  • Population Studies
  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 

ประเภทของบทความและผู้ทรงคุณวุฒิ

เปิดรับบทความ 2 ประเภทหลัก คือ บทความวิจัยและบทความวิชาการ (โดยอาจมี/ไม่มีบทความปริทัศน์หนังสือก็ได้) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบัน จำนวน ท่านต่อบทความ ด้วยวิธีการประเมินแบบ Double-blind peer review

 

กำหนดการเผยแพร่

กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ

ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม

 

ตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ

ตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (plagiarism) ด้วยอักขราวิสุทธิ์หรือโปรแกรมอื่นที่ใกล้เคียงกัน ไม่เกินร้อยละ 15

 

อัตราค่าธรรมเนียม

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ  

(ยกเว้นกรณีประสงค์ขอถอนบทความ ผู้ส่งบทความจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามอัตราหรือเงื่อนไขที่วารสารฯ กำหนด)

 

นโยบายการถอนบทความ

วารสารฯ ดำเนินการภายใต้มาตรฐานของวารสารวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ หากมีการถอนบทความ ผู้ส่งบทความจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามอัตราที่วารสารฯ กำหนด (โดยประมาณ 5,000 บาทต่อบทความ หรือตามอัตราที่วารสารฯ กำหนด)